DR และ DRx ทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนหุ้นต่างประเทศ

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 70 | คอลัมน์ Investment Strategy

1 compress 90 scaled

การเติบโตที่ต่ำของเศรษฐกิจไทย ทำให้การลงทุนต่างประเทศได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาภายในประเทศทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมือง ปัญหานี้เริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังการระบาดของ COVID-19 ที่เกิดการเปลี่ยนในพฤติกรรมของผู้บริโภคและรูปแบบการทำงาน รวมไปถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี AI และ EV ที่เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ประเทศไทยยังขาดความชำนาญ ทำให้การฟื้นตัวทำได้ต่ำกว่าภูมิภาคมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่สิ้นปี 2019 เป็นต้นมา ต่ำสุดในภูมิภาค (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2024)

2 compress 97

    ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจกับการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือการลงทุนโดยผ่านกองทุนรวม โดยเฉพาะในตลาดหลัก ๆ อย่างสหรัฐฯ ที่มีหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี AI, จีนที่มีระดับการประเมินมูลค่าที่ต่ำ และเวียดนามเป็นประเทศที่มีการเติบโตสูง ล้วนมีเศรษฐกิจที่โดดเด่นและมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายเป็นการกระจายพอร์ตการลงทุนมากขึ้น ทำให้เริ่มมีผู้ประกอบการสนใจที่จะนำหลักทรัพย์จากต่างประเทศมาจดทะเบียนในไทยโดยผ่านการออก DR และสามารถซื้อขายได้ผ่านแอปพลิเคชัน Streaming ตัวเดียวกับหุ้นที่ บล.ทิสโก้ให้บริการซื้อขายอยู่แล้ว

Depositary Receipt (DR) คืออะไร และใครเป็นผู้ออก DR?

    DR หรือ Depositary Receipt คือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่นำเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้สะดวกยิ่งขึ้น และลดขั้นตอนความยุ่งยากจากการลงทุนโดยตรงและการแลกเงินเป็นสกุลอื่น โดยหลักทรัพย์ที่นำมาทำเป็น DR นั้น มีทั้งหุ้นสามัญ และ ETF ที่ลงทุนในดัชนีและสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น

    ในด้านของการออก DR นั้น ผู้ที่จะออก DR ได้ต้องเป็น 1. ธนาคารพาณิชย์ 2. บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีเงื่อนไขตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กำหนด และหลักทรัพย์ที่นำมาออกจะต้องผ่านการยอมรับจาก กลต. ก่อน รวมถึงต้องมีสภาพคล่องในการซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 15 วัน ไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท

    สำหรับ DRx หรือ Fractional DR คือ DR ที่สามารถซื้อขายในแบบไม่เต็มหน่วยได้ต่ำสุดถึง 0.0001 DRx ทำให้ใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าและการซื้อขายของ DRx ในปัจจุบัน (3 กันยายน 2024) ต้องใช้การแจ้งความประสงค์เพิ่มเติมในการซื้อขายกับ บล. และชำระเงินผ่าน Pre Paid และ QR เท่านั้น โดยหลักทรัพย์ที่เป็น DRx จะเป็นหุ้นในฝั่งสหรัฐฯ

ปัจจุบันในตลาดมี DR และ DRx ทั้งหมดกี่ตัว

    โดย DR ตัวแรกที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยคือ E1VFVN3001 ซึ่งเป็น ETF ที่ลงทุนในประเทศเวียดนามและออกโดย บล.บัวหลวง ในปี 2018 และหลังจากนั้นการจดทะเบียน DR ก็เงียบหายไปก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งหลังพ้นช่วง COVID-19 โดยในปี 2022 และ 2023 เพิ่มขึ้นปีละ 11 ตัว และในปัจจุบัน 8M24 มีจดทะเบียนเพิ่มขึ้นถึง 24 ตัว ทำให้รวมทั้งสิ้นมี DR จดทะเบียนในตลาด 47 ตัว ตามตารางต่อไปนี้ 

3 compress 88

ตัวอย่าง DR และ DRx ที่น่าสนใจสำหรับการกระจายพอร์ตการลงทุน

    กลุ่ม AI และ Semiconductor–เป็นกลุ่มหุ้นที่มีการเติบโตสูงและเป็น Megatrend ของโลก โดยส่วนใหญ่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ และยุโรป ในส่วนของ AI มี DR ที่น่าสนใจเช่น AMZN80X (Amazon), GOOG80X (Google) และ MSFT80X (Microsoft) เป็นต้น ในขณะที่กลุ่ม Semiconductor & Chip เช่น ASML01 และ NVDA80X (Nvidia)

    กลุ่มยานยนต์และ EV–ในกลุ่มยานยนต์ DR มีทั้ง 3 กลุ่มผู้นำในตลาดทั้ง TOYOTA80 (Toyota) ที่เป็นเจ้าของผู้ครองยอดขายรถยนต์อันดับ 1 ของโลก และยังมี TSLA80X (Tesla) และ BYDCOM80 (BYD) ที่เป็นผู้นำในวงการรถ EV และสมาร์ตคาร์ รวมไปถึงน้องใหม่อย่าง XIAOMI80 (Xiaomi) ที่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจยานยนต์ 

    กลุ่มที่เป็น ETF สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ-สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอและต้องการต้นทุนในการซื้อขายที่ต่ำ DR มีทั้ง ETF ที่ลงทุนในหุ้นของประเทศต่าง ๆ เช่น CN01 (หุ้นจีน CSI300), JAPAN13 (หุ้นญี่ปุ่น MSCI Japan), E1VFVN3001 และ FUEVFVND01 (หุ้นเวียดนาม), NDX01 (หุ้นสหรัฐฯ NASDAQ) และ INDIAESG19 (หุ้นอินเดีย iShares MSCI India Climate Transition ETF)

4 compress 67 scaled

3 DR ที่ บล.ทิสโก้มองว่ามีความน่าสนใจ

    XIAOMI80 มีหลักทรัพย์อ้างอิงคือ 1810 HK เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งมือถือ (อันดับ 3 ของโลก), IoT ในบ้านและเพิ่งเข้าสู่ธุรกิจ EV ในปีนี้ โดยธุรกิจของ XIAOMI แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. โทรศัพท์มือถือครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 3 ของโลกผ่านแบรนด์ Xiaomi, Redmi และ POCO 2. ธุรกิจสินค้า IoT ที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบ Mi Home กับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีทั้งแอร์ ตู้เย็น ทีวี และกลุ่มสินค้า Life Style เช่น นาฬิกาและหูฟัง เป็นต้น 3. ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต และ 4. ธุรกิจรถยนต์ที่เพิ่งเปิดตัวและมีการขยายโชว์รูมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันใน Q2/2024 มียอดส่งมอบ 2.7 หมื่น และบริษัทคาดทั้งปีมีเป้าส่งมอบ 1.2 แสนคัน

5 compress 56

    INDIAESG19 มีหลักทรัพย์อ้างอิงคือ iShares MSCI India Climate Transition ETF บริหารโดย Black Rock (Singapore) Ltd. เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในประเทศที่มีการเติบโตสูงอย่างอินเดียที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของ GDP ในปีนี้และปีหน้าสูง 6-8% และมีฐานประชากรกว่า 1.4 พันล้านคนที่กำลังได้ประโยชน์จากสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากเงินลงทุนที่ไหลเข้า โดยกองทุนเน้นถือหุ้นในกลุ่มของธนาคารและการบริโภคเป็นหลัก มีหุ้นในพอร์ตเช่น Hindustan Unilever ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค, Reliance Industries เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานรายใหญ่ในอินเดีย

6 compress 46

    SMFG19 มีหลักทรัพย์อ้างอิงคือ 8316 JP ผู้ประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคารที่ครอบคลุมบริการทางการเงินที่หลากหลายผ่านบริษัทย่อย ดังนี้ 1. ธุรกิจธนาคาร (SMBC) 2. ธุรกิจทรัสต์ (SMBC Trust) 3. ธุรกิจลีสซิ่ง (SMFL) 4. ธุรกิจหลักทรัพย์ (SMBC Nikko) 5. ธุรกิจให้บริการบัตรเครดิต (SMCC) 6. ธุรกิจไฟแนนซ์ (SMBCCF) 7. ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (SMDAM) 8. ธุรกิจให้เช่าเครื่องบิน (SMBCAC) และ 9. ธุรกิจให้บริการทางการเงินในอินเดีย (SMICC) นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจการเงินในประเทศอื่น เช่น จีน ยุโรป โดยมีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน จาก 1. BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในเดือนกรกฎาคม ช่วยหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) 2. ผลประกอบการ 1Q/2024 ออกมาดีกว่าคาด และคาดว่าจะดีต่อใน 2Q/2024 3. แผนการเพิ่มผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น

7 compress 36

คำถามที่นักลงทุนถามบ่อยเกี่ยวกับการซื้อขาย DR และ DRx

1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหรือค่าคอมมิชชัน

    a. ขั้นตอนการซื้อขายและค่าธรรมเนียมเหมือนกับการซื้อขายหุ้นปกติ แต่มีค่าธรรมเนียมที่อาจถูกเรียกเก็บเพิ่มได้ในกรณีของการจ่ายสิทธิประโยชน์

2. การขึ้นเครื่องหมาย XD และการจ่ายเงินปันผลเป็นอย่างไร

    a. การจ่ายเงินปันผลของ DR จะจ่ายช้ากว่าหลักทรัพย์อ้างอิงและมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเช่น SIA19 (Singapore Airline) อิงกับ C6L ที่สิงคโปร์ ขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 1 สิงหาคม เป็นจำนวนเงิน 0.38 SGD และจ่ายเงินในวันที่ 21 สิงหาคม ในขณะที่ SIA19 จะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันเดียวกันแต่จะได้รับเงินในวันที่ 27 สิงหาคม เป็นจำนวนเงิน 0.9692 บาทและการเสียภาษีจะเหมือนกับหุ้นคือ ณ ที่จ่าย 10%

3. การปรับตัวของราคา DR กับหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นอย่างไร

    a. DR และ DRx ในตลาดมี Market Maker เป็นผู้ดูแลการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งจะอิงกับตลาดต่างประเทศและรวมผลของอัตราแลกเปลี่ยนไว้ทำแล้ว และจะมีช่วงเวลาในการซื้อขายที่แตกต่างจากหุ้น โดยแบ่งเป็น

            i. Asia Time Zone: Pre-Open 6:45–7:00 และปิดทำการเวลา 17:00

            ii. US Time Zone: Pre-Open 19:45–20:00 และปิดทำการเวลา 4:00 T+1

    แต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของราคาจะมีประสิทธิภาพมากสุดในช่วงที่ตลาดของไทยและต่างประเทศเปิดทำการตรงกัน เช่นตลาดหุ้นญี่ปุ่นซึ่งมีเวลาเร็วกว่าไทยจะปิดทำการก่อนไทยในภาคบ่ายทำให้ Market Maker อาจไม่สามารถดูแลได้เต็มที่ในช่วงท้าย

8 compress 29
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า