3 ธีมลงทุนที่ต้องมีติดพอร์ต ในภาวะตลาดผันผวน

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 70 | คอลัมน์ Wealth Manager Talk

1 compress 95 scaled

ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต้องเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งความกังวลเศรษฐกิจถดถอยและอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ตัวเลขดัชนีตัวแปรชี้ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า (Leading Indicator) ที่สำคัญ อย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและภาคบริการ (Global Composite PMI) ที่ขยายตัวมาต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของหลาย ๆ ประเทศที่เริ่มกลับทิศเป็นขาลง เริ่มที่สหภาพยุโรปที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน และสหรัฐฯ ที่มีการปรับลดดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือนกันยายน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะหุ้นโลกที่ฟื้นตัว (MSCI ACWI) +16% YTD รวมถึงหุ้นยุโรป (EURO STOXX) และหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ที่ให้ผลตอบแทน +14% YTD, +19% YTD ตามลำดับ แต่ในขณะเดียวกัน ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ความผันผวนของตลาดก็ยังคงมีอยู่จากความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ดังนั้น การจัดพอร์ตเพื่อกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ จึงมีความสำคัญอย่างมากเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่มากขึ้น โดยมีการเลือกสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนี้

1. หุ้นกลุ่ม Emerging Market

    ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจะส่งผลดีต่อกลุ่มประเทศที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ Emerging Market อย่างเกาหลีใต้และไต้หวัน ที่เป็นทั้งฐานการผลิตและส่งออกสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของ AI ในขณะที่ประเทศจีนยังต้องเผชิญกับนโยบายกีดกันทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทมีการกระจายและโยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ใน Emerging Market ที่มีความใกล้เคียงกับจีนในแง่ของทรัพยากรแรงงานและด้านอื่น ๆ เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น                 

    ทางด้านระดับราคาของหุ้นในกลุ่ม Emerging Market ยังถือว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจเพราะถูกกว่าระดับค่าเฉลี่ยที่เคยซื้อขายในอดีต โดยปัจจุบันกลุ่ม Emerging Market ซื้อขายที่ระดับ Fwd P/E 12.89 เท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน 2024) ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ระดับ Fwd P/E 13.85 เท่า

    ดังนั้น การเพิ่มหุ้นกลุ่ม Emerging Market เข้าพอร์ตในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจะช่วยสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นจากโครงสร้างที่เน้นการส่งออกของประเทศ และยังมีระดับการซื้อขายที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีอีกด้วย โดยกองทุนแนะนำที่ตอบโจทย์นี้คือ TEMxCH ด้วยลักษณะของกองทุนที่ลงทุนในกลุ่มประเทศ Emerging Market ที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกและเติบโตด้าน AI อย่างเกาหลีใต้และไต้หวัน รวมถึงไม่มีการลงทุนในหุ้นจีนเพื่อลดความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้าและนโยบายการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

2 compress 99

2. หุ้นกลุ่ม Quality ทั่วโลก

    การเลือกหุ้นที่มีคุณภาพเข้ามาในพอร์ตการลงทุน ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับพอร์ตการลงทุน โดย MSCI World Quality มีการใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นคุณภาพเข้าดัชนี ดังนี้

    1. มีอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูง หมายถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจากเงินลงทุน โดยหากอยู่ในระดับสูงจะส่งผลให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นตาม ในรูปแบบของเงินปันผลหรือส่วนต่างราคา

    2. มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ที่ต่ำ แสดงถึงฐานะทางการเงินของบริษัทที่แข็งแกร่ง มีความมั่นคง และมีภาระหนี้สินที่ต่ำ

    3. มีเสถียรภาพในการเติบโตของกำไรที่ต่อเนื่อง บ่งบอกถึงศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจของบริษัทที่เหนือคู่แข่ง ด้วยการมีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้บริโภค

    หากพิจารณาด้วยเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อแล้ว หุ้นที่อยู่ในกลุ่มนี้จะจัดได้ว่าเป็นผู้นำของกลุ่มธุรกิจนั้น ๆ เช่น NVIDIA ที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี Semiconductor ที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของ AI, Eli Lilly and Co ที่เป็นบริษัทผลิตยารักษาโรคขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ และหากมองผลตอบแทนสะสม ย้อนหลัง 10 ปีของหุ้นกลุ่ม Quality จากดัชนี MSCI ACWI Quality จะพบว่าสูงถึง 160% เฉลี่ย 16% ต่อปี ในขณะที่ความผันผวนของหุ้นกลุ่ม Quality เมื่อเทียบกับหุ้นโลก (MSCI ACWI Index) อยู่ในระดับที่ต่ำสะท้อนจาก VIX Index ที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่หุ้น Quality ยังสามารถปรับตัวขึ้นและ Outperform หุ้นโลกได้ ดังนั้นจากสถิติที่ผ่านมา การเลือกหุ้นกลุ่ม Quality เข้าพอร์ตจะช่วยสร้างผลตอบแทนแบบยั่งยืนในระยะยาว ด้วยกองทุน TGQUALITY ที่ลงทุนใน iShares Edge MSCI World Quality Factor UCITS ETF ซึ่งมีการลงทุนในหุ้นชั้นนำทั่วโลกอย่าง NVIDIA, Apple และ Eli Lilly and Co รวมถึงมีเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นตามดัชนี MSCI

3 compress 90

3. ตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade Bond)

    สินทรัพย์สุดท้ายที่นักลงทุนควรมีติดพอร์ตในขณะนี้คือ หุ้นกู้ภาคเอกชนคุณภาพดีและพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เพราะนอกจากจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวมแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้ในช่วงดอกเบี้ยขาลง โดยจากสถิติในอดีต ดัชนี US Treasury Total Return ให้ผลตอบแทนหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดดอกเบี้ยไปแล้ว 6 เดือนแบบไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยมากถึง 4.5% และควรเลือกตราสารหนี้ที่มีอายุยาวแทนระยะสั้น เนื่องจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่จะได้รับมากกว่าตอนที่ Fed มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และเน้นอันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Rating ของตราสารหนี้ที่เป็น Investment Grade ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงโอกาสการผิดนัดชำระหนี้

    ทางด้านกองทุนที่เหมาะสมและตรงตามเกณฑ์ข้างต้น ได้แก่ ES-GINCOME และ KF-CSINCOM ด้วย Credit Rating โดยรวมของกองทุนอยู่ที่ AA- สะท้อนถึงแนวทางการลงทุนที่เน้นตราสารหนี้คุณภาพดี และอายุของตราสารหนี้ส่วนใหญ่ที่ถืออยู่ในช่วง 4-5 ปี เป็นหลัก

4 compress 68
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า