4 สัญญาณบวกหนุนผลตอบแทนหุ้นทั่วโลกไปต่อ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1716193424882

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดัชนี MSCI World ที่เป็นตัวแทนของราคาหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ +7% แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลักๆ ที่ทำให้นักลงทุนยังมีความกังวลกับการลงทุนในตลาดหุ้น เช่น อัตราเงินเฟ้อจากค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลของสหรัฐอเมริกาที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน (Core PCE) ยังลดลงช้ากว่าคาดจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างประเทศระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลง -5% ภายใน 3 สัปดาห์เท่านั้น

อย่างไรก็ดี อาจเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะสามารถเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นได้ โดยมี 4 ปัจจัยลงทุนที่สนับสนุนเหล่านี้

1. นโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังมีโอกาสผ่อนคลายหลังจากนี้ต่อไป แม้ว่าปัจจุบัน Core PCE ที่ +2.8% YoY ยังสูงกว่าที่ Fed กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 2% แต่ก็เป็นระดับที่มีส่วนต่างจากดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 5.25% – 5.50% เกือบ 2 เท่า จากสถิติ 20 ปีที่ผ่านมา Fed ก็มีการลดดอกเบี้ยนโยบาย เมื่อ Core PCE ไม่เร่งตัวไปทำจุดสูงสุดใหม่ภายใน 1 ปี เช่นในปี 2006 – 2007 ที่ Core PCE เฉลี่ยประมาณ +2.4% YoY ซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมายแต่ Fed ลดดอกเบี้ยเนื่องจากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันทั้ง Core PCE และดอกเบี้ยนโยบายเริ่มห่างเกิน 2% มาแล้ว 7 เดือน ขณะที่ Core PCE ยังลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดที่ประเมินว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยครั้งแรกเดือนก.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับระยะเวลา 1 ปีพอดี ประกอบกับมติการลดจำนวนการดึงเงินออกจากระบบหรือ QT ของ Fed เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ยิ่งตอกย้ำว่า Fed กำลังดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายไปเรื่อยๆ มากกว่าที่จะขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดกังวล

2. เศรษฐกิจของประเทศหลักที่ยังฟื้นตัวได้ แม้ว่าสหรัฐฯ เพิ่งจะรายงาน GDP ไตรมาสแรกของปี 2024 ออกมาเพียง +1.6% YoY ซึ่งต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดที่ +2.4% YoY พอสมควร จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึง +7.2% QoQ แต่เมื่อพิจารณาจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (Final sales to domestic purchasers) ยังเร่งขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2023 อยู่จาก +1.35% QoQ เป็น +1.45% QoQ ซึ่งยังช่วยประคองเศรษฐกิจไปได้ ส่วนประเทศจีนรายงาน GDP ไตรมาสแรกปี 2024 ออกมา +5.3% YoY จากยอดส่งออกที่ +14% YoY นอกจากนี้อัตราว่างงานของจีนเดือน มี.ค. ลดลงมาที่ 5.2% เป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปรับขึ้นมาต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน และยังเป็นระดับต่ำนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา โดยทั้ง 2 ประเทศหลักที่เศรษฐกิจมีทิศทางเชิงบวกตั้งแต่ต้นปีทำให้นักวิเคราะห์ทยอยปรับประมาณการณ์ GDP ทั้งปี 2024 ของโลกเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้ต้นปี +2.6% YoY สู่ +2.9% YoY ซึ่งเร่งตัวขึ้นทั้งฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว (DM) และประเทศเกิดใหม่ (EM)

3. นักวิเคราะห์ทยอยปรับคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปีนี้ ทำให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีราว +4.8% โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเทศ DM ที่ปรับเพิ่มขึ้น +4.8% โดยการปรับคาดการณ์กำไรเพิ่มขึ้นทำให้ระดับ P/E Ratio 12 เดือนข้างหน้าของตลาดหุ้น DM ลดลงมาซื้อขายที่ราว 17 เท่าซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย และลดลงมาจาก 18 เท่าเมื่อช่วงต้นปีแม้ดัชนีจะต่ำกว่านี้ราว 6% ก็ตาม ขณะที่ตลาดหุ้นฝั่ง EM มีระดับ P/E Ratio 12 เดือนข้างหน้าเพียง 11.2 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยราว 6% ซึ่งการเพิ่มน้ำหนักลงทุนช่วงที่ Valuation ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยจะช่วยให้การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงต่ำลงได้

4. สงครามมักเป็นปัจจัยลบระยะสั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศแต่ละครั้งจะทำให้สภาวะตลาดเงินและตลาดทุนจะมีความผันผวนมากขึ้นเพราะนักลงทุนจะหาทางลดความเสี่ยงการลงทุนให้น้อยลง อย่างไรก็ตามจากสถิติย้อนหลังของสงครามแต่ละครั้งกับทิศทางตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ปะทุ ตั้งแต่ปี 1991

กับเหตุการณ์สงครามอ่าวมาจนถึงปี 2023 สงครามอิสราเอล – ฮามาสกับ ช่วงก่อนสงครามอาจทำให้ราคาหุ้นย่อลง แต่จะฟื้นตัวมาบนระดับราคาเดียวกับช่วงก่อนหลังเกิดเหตุการณ์ภายใน 1 – 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งทิศทางของตลาดหุ้นระยะยาวอาจมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกำหนดมากกว่า เช่น กำไรของบริษัท หรือ ภาวะเศรษฐกิจ เป็นต้น

4 ปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นนั้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนแก่นักลงทุนได้ โดยอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนตามความกังวลกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินรวมทั้งปัญหาของความขัดแย้งระหว่างประเทศเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นต่างประเทศที่ยังมีการเติบโตของกำไรที่ดีและ Valuation เหมาะสมกับการลงทุน และเมื่อความกังวลคลี่คลายลงราคาหุ้นจะปรับขึ้นตามทิศทางสนับสนุนต่างๆ ที่จะคงอยู่ต่อไปตลอดปี 2024 นี้

แผนภาพ: นักวิเคราะห์ทยอยปรับประมาณการ GDP ทั้งปี 2024 (ด้านซ้าย) และกำไรของบริษัทจดทะเบียน (ด้านขวา)

หลังจากมีทิศทางการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง

1716193558331

Source: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory; data as of 10 May 2024

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ CFP® Wealth Manager TISCO Wealth

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า