3 สินทรัพย์ทางรอด ที่ต้องมีติดพอร์ตในไตรมาส 4

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1698658688638

เข้าสู่ช่วงไตรมาส 4/2023 ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญความผันผวนอย่างต่อเนื่องจากภาวะสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่เริ่มปะทุขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ต.ค. ประกอบความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงและอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้นักลงทุนเริ่มปรับกลยุทธ์การลงทุนเป็นแบบ “Risk off” โดยมีการโยกย้ายเม็ดเงินเข้าสู่ “สินทรัพย์ปลอดภัย” เพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เริ่มสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แม้สภาวะดังกล่าวจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากในการลงทุน แต่เรามองว่ายังมี 3 สินทรัพย์ “ทางรอด” ที่นักลงทุนต้องมีติดพอร์ต เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีและฝ่าฟันสภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ ดังนี้

1.ตราสารหนี้สหรัฐฯ

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5.25%-5.5% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่วิกฤติ Subprime ปี 2008 โดยตลาดเชื่อว่า Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ระดับสูงสุด (Terminal rate) แล้ว และจะเริ่มกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งในช่วงกลางปี 2024 ปัจจุบันจึงถือเป็นโอกาสทองในการลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กำลังให้ผลตอบแทน (Yield) ที่สูงถึงกว่า 5%

นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังในอดีตนับตั้งแต่ปี 1984 ซึ่ง Fed ได้ทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง พบว่า หลังจากที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย Bond yield อายุ 10 ปี จะลดลงทุกครั้งราว 0.5%-1.5% ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจกล่าวได้ว่า ราคาพันธบัตรมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นและสร้างกำไร (Capital gain) ให้กับนักลงทุนได้หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุด

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ Bond yield สหรัฐฯ ทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงราว 5% หาก Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วตามที่ตลาดคาด เราคาดว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถสร้างผลตอบแทนรวมได้ราว 7% และหากเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะ Recession ชัดเจนขึ้นในปีหน้า จนทำให้ Fed ต้องหันกลับมาลดอัตราดอกเบี้ยลง พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนรวมได้มากถึง 19% สะท้อนให้เห็นว่า พันธบัตรมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ในระดับสูงและมีความเสี่ยงที่ต่ำ (Low Risk High Return)

2.หุ้นกลุ่ม Healthcare

สำหรับการลงทุนในฝั่งตลาดหุ้น หุ้นกลุ่มการแพทย์ถือเป็นกลุ่มที่สามารถทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้ดีที่สุด กล่าวคือ รายได้มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากขายสินค้าจำเป็น ทำให้ความต้องการสินค้าไม่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ บริษัทในอุตสาหกรรมนี้ยังมีอำนาจในการปรับขึ้นราคาสินค้า (Pricing Power) และมีความสามารถในการควบคุมต้นทุนในช่วงที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สะท้อนผ่านตัวเลขอัตรากำไร (Profit margin) ที่อยู่ในระดับสูงและมีความสม่ำเสมอ กำไรของธุรกิจ Healthcare จึงมีความแข็งแกร่งกว่าอุตสาหกรรมอื่น สามารถเติบโตได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเป็นหุ้นกลุ่มที่มักจะสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ในภาวะ Recession ทุกครั้งที่ผ่านมาในอดีต

หากมองไปที่ปี 2024 หุ้นกลุ่ม Healthcare ถือเป็นกลุ่มที่เรียกได้ว่า “เติบโตสูง ราคาไม่แพง” เนื่องจากนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่ากำไรของหุ้นกลุ่ม Healthcare จะเติบโตได้สูงถึง +15.4% YoY นับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่ากำไรของบริษัทในดัชนี S&P500 ที่มีแนวโน้มขยายตัว +12.2% YoY นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Healthcare ยังมี Valuation ที่ต่ำกว่าภาพรวมตลาด สะท้อนจากค่า Forward PE ที่อยู่เพียงแค่ 17 เท่า ต่ำกว่าดัชนี S&P500 ที่ซื้อขายกันที่ Forward PE 18 เท่า ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนมีต่ำกว่าหุ้นอุตสาหกรรมอื่น ๆ

3.ทองคำ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่แน่นอนในตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจหรือภาวะสงคราม ทองคำยังคงเป็น “Safe heaven” หรือสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนไว้ใจได้เสมอ ในสภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงประกอบกับความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่คาดเดาได้ยาก การกระจายเงินลงทุนบางส่วนไว้ในทองคำ น่าจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีหากเกิดความเสี่ยงด้านลบต่อตลาดการเงิน นอกจากนี้ ทองคำยังได้รับแรงหนุนจากกระแส De-dollarization หรือการที่ธนาคารกลางทั่วโลก ลดการถือครองดอลลาร์และเพิ่มการถือครองทองคำมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการซื้อทั้งจากบรรดาธนาคารกลางและนักลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ไตรมาส 4/2023 จึงถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของการทำ Asset Allocation ด้วยการลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ปรับพอร์ตการลงทุนเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทองคำ ตลอดจนหุ้นกลุ่ม Defensive อย่างกลุ่มการแพทย์ เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตทั้งจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่ยากจะคาดเดาว่าสถานการณ์จะออกมาเป็นอย่างไร

 

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  I

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Wealth manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Facebook : TNN Wealth

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า