Buy The Dip พิชิตตลาดผันผวน ท่ามกลางมรสุมปี 2022

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1648178975168 1

ใกล้ที่จะสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของปี 2022 กันแล้ว ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ท้าทายทีเดียวในแวดวงการลงทุน ด้วยหลากหลายประเด็นที่เข้ามากระทบภาพการลงทุน ทั้งท่าทีความเข้มของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศที่มีการลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงต้องการที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีประเด็นสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่กดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงหนักราว 10 – 20% ในตลาดหลักของโลก อย่างในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน แต่ปัจจัยกดดันเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยในระยะสั้น ที่ไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินกิจการและผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว ทำให้แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงในปัจจุบัน แต่ก็ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจให้กับนักลงทุนที่มีประสบการณ์และมองหาโอกาสในการลงทุนด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี ประเด็นต่างๆ ข้างต้นที่เข้ามากระทบการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตทั้งสิ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นมักจะกระทบ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น อีกทั้งยังมีผลกระทบที่เบาบางต่อการดำเนินกิจการของบริษัท อาทิ การเกิดสงครามหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยในช่วงราว 82 ปีที่ผ่านมา เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศกว่า 28 ครั้ง ซึ่งตลาดหุ้นปรับตัวลงเฉลี่ยเพียงราว -5% เท่านั้น แล้วใช้เวลาอีกราว 20 วันในการฟื้นตัวกลับมาที่เดิม

เราพบว่า ผลตอบแทนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา (YTD Performance as of 14 March 2022) ตลาดหุ้น อาทิ  S&P500, NASDAQ, EUROSTOXX50, NIKKEI225 และ CSI300 ปรับตัวลดลงราว -13%, -20%, -13%, -13% และ -19% ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าตลาดปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับ Valuation อ้างอิงโดย Forward P/E Ratio ของดัชนีหลักของโลกปรับตัวลงมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปีย้อนหลัง และหากพิจารณาจาก P/E Band พบว่าตลาดหุ้นอย่างตลาด NIKKEI225 และ TOPIX (ญี่ปุ่น), STOXX600 (ยุโรป), TWSE (ไต้หวัน), และ HSCEI (จีน) มีระดับ Forward P/E ราว -1S.D. ทั้งสิ้น ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

นอกจากประเด็นด้าน Valuation แล้ว การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมและผลประกอบการของบริษัทก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่สำคัญมากไม่แพ้กัน โดยในปี 2022 นี้ เราเชื่อว่า ภาพรวม GDP ของแต่ละประเทศจะเติบโตได้ราว  3 – 5% YoY และหลังจากประเด็นต่างๆ ที่เข้ามากระทบเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ตลาดหุ้นก็จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งประเด็นที่ตลาดจะกลับมาให้ความสำคัญ คือภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ทำให้กลุ่มการลงทุนที่ควรให้น้ำหนักจะเป็นกลุ่มของประเทศอย่างจีน ซึ่ง Bloomberg Consensus คาดการณ์ว่า ในปีนี้ตัวเลขดัชนีผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 3Q2022F ในระดับ +2.4% YoY ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ PBoC ที่ +3% YoY รวมถึงญี่ปุ่นที่มีเป้าหมายเงินเฟ้อราว +2% YoY จากตัวเลขปัจจุบันที่ขยายตัวเพียง +1% YoY นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้จากต้นทุนที่สูงขึ้น ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจลงทุนด้วยเช่นเดียวกัน  ซึ่งจากข้อมูลอ้างอิงกลุ่มอุตสาหกรรมในดัชนี S&P500 พบว่า กลุ่ม Technology และ Consumer Discretionary รวมถึงกลุ่ม Energy มีอัตรากำไรสุทธิหรือ Profit Margin เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่1: แสดงการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรสุทธิของกลุ่มอุตสาหกรรมในดัชนี S&P500 ในช่วง 4Q2021 และ 2Q2021

1648179057606 1

ที่มา: TISCO ESU

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ในปี 2022 นี้ จะมีปัจจัยด้านมหภาคในหลายประเด็นเข้ามากระทบภาพการลงทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และปัจจุบันมีระดับ Valuation ที่ถูกเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง โดยประเด็นที่เข้ามากระทบส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัจจัยระยะสั้น  ทำให้การที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงเป็นโอกาสของนักลงทุนในระยะสั้น-กลางในการลงทุน ซึ่งกลุ่มประเทศและอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นเรื่องเงินเฟ้อ จะเป็นกลุ่มที่ตลาดให้ความสนใจและคาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและเอาชนะตลาดได้ในอนาคต

โดย วิศรุต จารุอนันตพงษ์  AFPT™

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

—————————————————

บทความล่าสุด

ล๊อค Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>

ล๊อค Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า