แพ้วัคซีน COVID-19 ใครรับผิดชอบ ?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1629962980797 1

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้กลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากการกลายพันธุ์ของไวรัส ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการฉีดวัคซีนอาจนับได้ว่าเป็นทางออกเดียวในเวลานี้ที่จะช่วยให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิม

แต่จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทยมีจำนวนประชาชนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มอยู่ที่ 11,538,866 คิดเป็น 17.43% ของจำนวนประชากรทั้งหมด (สิ้นปี 2563 66,186,727 ราย) และพบว่ามีจำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนแล้วมีผลข้างเคียงไม่รุนแรงเป็นจำนวน 585,213 ราย คิดเป็น 3.88% ของผู้รับวัคซีนทั้งหมด โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเร่งฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะกลับมาเปิดประเทศได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หลายท่านก็ยังมีประเด็นข้อสงสัยว่าหากเราเกิดแพ้วัคซีนที่ฉีด จนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้จากใคร?

เพราะหลายคนมีทั้งประกันสังคม ประกันสุขภาพ และประกันโควิด อะไรบ้างที่จะคุ้มครองเรา

ในส่วนประกันสังคมและผู้ใช้สิทธิบัตรทอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ออกมาให้ความคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการฉีดวัคซีน COVID-19 เบื้องต้นไว้สามกรณี กรณีแรก หากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ รวมถึงการเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท กรณีที่สอง หากสูญเสียอวัยวะหรือพิการ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท

และ กรณีสุดท้าย หากเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการรับวัคซีนโดยมีความเห็นของแพทย์รับรอง ให้จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งความคุ้มครองดังกล่าวครอบคลุมถึงคนไทยทุกคนแต่ต้องเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนที่รัฐบาลจัดสรรให้เท่านั้น ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกของโรงพยาบาลเอกชน

ด้านประกันสุขภาพ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำไว้แล้วคงอุ่นใจเมื่อมีประกันสุขภาพคุ้มครองยามเจ็บป่วย แต่แนะนำว่าอย่าลืมศึกษาข้อยกเว้นในการรับประกันสุขภาพในแบบนั้นๆ เพิ่มเติม เพราะในบางแบบประกันอาจจะมีข้อยกเว้นในเรื่องของการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ดังนั้น หากมีอาการเจ็บป่วยจากการรับวัคซีนบริษัทประกันอาจจะไม่คุ้มครองค่ารักษาที่เกิดขึ้น ซึ่งในที่นี้จะยกเว้นวัคซีนพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันบาดทะยักหลังจากถูกสัตว์ทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บ

และในส่วนของประกัน COVID-19 แนะนำว่า ให้ตรวจสอบความคุ้มครองของแบบประกันให้ละเอียดว่าแบบประกันที่ซื้อหรือต้องการซื้อนั้นได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงการแพ้วัคซีนหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้อนุมัติแบบประกันความคุ้มครองแพ้วัคซีน COVID-19 ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังจากมีการนำเข้าวัคซีนล็อตแรก ดังนั้น การซื้อประกัน COVID-19 ก่อนหน้านี้จึงอาจจะยังไม่มีความคุ้มครองในกรณีแพ้วัคซีน COVID-19 ในบางแบบประกัน

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกท่านคงพอได้คำตอบแล้วว่า ควรพิจารณาซื้อประกันแพ้วัคซีน COVID-19 เพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งนี้ควรตรวจสอบความคุ้มครอง รวมถึงข้อยกเว้นในแบบประกันเพื่อการบริหารความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุมและตรงความต้องการให้ได้มากที่สุด

สุดท้ายนี้การวางแผนประกันเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน แต่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์และตั้งการ์ดสูงเพื่อป้องกันเชื้อ COVID-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ไปได้

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา  หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

บทความล่าสุด

ล๊อค Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>

ล๊อค Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า