จบรอบหุ้น Cyclicals ปรับพอร์ตเข้าหุ้น Defensive

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1629787092337

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 ที่ผ่านมา ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน COVID-19 การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง ได้นำไปสู่การคลาย Lockdown และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมาอย่างต่อเนื่อง โดยหากพิจารณาลงไปในรายละเอียด จะพบว่าหุ้นกลุ่มที่นำตลาดขึ้นมาในปีนี้และสร้างผลตอบแทนที่สูงมากให้กับนักลงทุน คือ หุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical Stocks) ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่มักมีรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น/ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม Energy, Financials, Industrials และ Materials เป็นต้น

แม้บริบทในภาพรวม เศรษฐกิจโลกจะมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม TISCO ESU มีมุมมองว่าตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะเริ่มผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 สะท้อนจากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) ในช่วงเดือนเมษายนของสหรัฐฯ ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60.7 จุด ในขณะที่ดัชนี Global Manufactoring PMI ของเดือนเมษายน ที่สะท้อนภาพรวมการผลิตทั่วโลกก็ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.8 จุด นับเป็นระดับที่สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปีและอยู่ในเกณฑ์ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน (ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง หดตัว และ ดัชนีที่มากกว่า 50 จุด หมายถึง ขยายตัว)

หุ้น Defensive มักชนะตลาดช่วง ISM Manufacturing PMI ขยายตัวสูงสุด

หากพิจารณาย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน จะพบว่า ดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯมักจะทำจุดสูงสุดที่ระดับประมาณ 60 จุดและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงระยะเวลาหลังจากที่ดัชนี  ISM Manufacturing PMI ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดและมีแนวโน้มที่จะเริ่มชะลอตัวลงนั้น หุ้นกลุ่มที่มักจะสร้างผลตอบแทนชนะตลาด (Outperform) ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ หุ้นกลุ่ม Defensive (ตามแผนภาพที่ 1) ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นมีความสม่ำเสมอของรายได้และมีกำไรที่ไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น หุ้นกลุ่ม IT และ Healthcare ซึ่งจะเป็นภาพที่ตรงกันข้ามกับช่วงเวลาที่ตัวเลข ISM Manufacturing PMI กำลังขยายตัวในอัตราเร่งไปสู่ระดับสูงสุด ที่หุ้นกลุ่ม Cyclicals สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด คล้ายกับในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก IHS Markit ยังชี้ว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ทั้งราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร โลหะ และไม้แปรรูป รวมถึงปัญหาการขาดแคลนปัจจัยการผลิต จะเริ่มส่งผลกระทบในเชิงลบต่อหุ้นกลุ่ม Cyclicals บางประเภทในระยะถัดไป เช่น กลุ่ม Industrial goods, Chemicals และ Technology Equipments เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายสินค้าได้ทันกับต้นทุนการผลิตที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ จะส่งผลกดดันให้อัตรากำไร (Margin) ของบริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลดลง 

หากเปรียบเทียบกับหุ้นกลุ่ม Defensive บางกลุ่ม ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีสัดส่วนต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์น้อย อีกทั้งยังมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและความสามารถในการส่งผ่านภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภค เพื่อรักษาอัตรากำไรให้มีความสม่ำเสมอได้ โดยที่ไม่สูญเสียยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น บริษัทกลุ่ม Biotechnology & Pharmaceuticals หรือ กลุ่ม Software & Services จะพบว่า หุ้นของบริษัทเหล่านี้จะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าจากประเด็นดังกล่าว

แนะนำลดสัดส่วนหุ้น Cyclicals เน้นลงทุนหุ้น Defensive

เรามองว่าในระยะข้างหน้า ตลาดหุ้นโดยรวมจะยังให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกจากเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัว แต่มีโอกาสที่จะเกิด “Sector Rotation” ของเม็ดเงินลงทุนออกจากหุ้นกลุ่ม Cyclicals ไปยังหุ้นกลุ่ม Defensive มากขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่ม IT และ Healthcare ที่จะเริ่มกลับมา Outperform ตลาดได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ในแง่ของกลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุนเริ่มลดสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclicals ลง และ ทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive ขนาดใหญ่ เช่น หุ้นกลุ่ม Biotechnology ขนาดใหญ่ ซึ่งมี Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพงและยังมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่สูงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในขณะที่ หุ้นกลุ่ม IT ขนาดใหญ่ เราแนะนำให้รอจังหวะเข้าทยอยสะสม ในช่วงที่ตลาดมีการปรับฐานจากความกังวลเรื่องนโยบายการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 

แผนภาพที่ 1 : ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1990

1629787440109

ที่มา: TISCO ESU 

===================================

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]

 บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™ Wealth Manager

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Make Money Make Healthy ของ TNN

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า