ถึงเวลาลงทุนตราสารหนี้ รับผลตอบแทนสูงในรอบทศวรรษ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1666167568777 1

นับตั้งแต่ต้นปีอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้พันธบัตรทั่วโลกปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อให้กลับเข้ามาอยู่ในกรอบ ทำให้ผลการประชุม Fomc เดือนกันยายนที่ผ่านมา Fed ประเมินว่า ดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้จะอยู่ที่ 4.4% ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี แต่ตลาดตราสารหนี้ได้ล่วงหน้าปรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ช่วง 2 – 5 ปี ขึ้นมาอยู่ที่บริเวณ 4% ไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะเหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมก็ตาม ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้นับว่ามีความน่าสนใจใน 3 ประเด็น 1. ล็อคอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่ระดับ 4% สูงสุดในรอบ14 ปี  2. ราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นสวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง หากเริ่มเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และ 3. มุมมองของ  Fed ที่อาจจะต้องถอนคันเร่งการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปี 2024 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย

โดยทั่วไปแล้วตราสารหนี้จะมีส่วนช่วยลดความผันผวนในพอร์ตการลงทุน เนื่องจากมีข้อดีที่การให้กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ สามารถคาดเดาผลตอบแทนได้ แต่ในปีนี้ถือว่าตราสารหนี้ทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและเริ่มกลับเป็นขาขึ้น โดยช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา Correlation ซึ่งเป็นตัวเลขบอกความสัมพันธ์ของราคาสินทรัพย์ระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้และหุ้นเป็นบวก ซึ่งบ่งบอกว่าทั้ง 2 สินทรัพย์มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากผลตอบแทนตราสารหนี้ในปีนี้ติดลบตามสินทรัพย์อื่น ๆ หากนับตั้งแต่ต้นปีดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง -24% ขณะที่ดัชนีตราสารหนี้สหรัฐฯ โดยรวมปรับตัวลงว่า -15%  เช่นเดียวกัน

 อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นและตราสารหนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จากข้อมูลในอดีตในช่วงปี 2000, 2006, 2018 พบว่า ตลาดหุ้นและราคาตราสารหนี้จะเริ่มเคลื่อนไหวสวนทางกันในช่วงที่ดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุด จนกระทั่งในช่วงที่มีปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งใกล้เคียงกับภาวะปัจจุบันที่คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วตามเป้าหมาย จนกระทั่งเริ่มกลับมาลดดอกเบี้ยลดลงในปี 2024 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาพันธบัตรอายุกลางถึงยาวให้ปรับตัวขึ้นได้

อีกประเด็นที่ทำให้ลงทุนในตราสารหนี้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร คืออัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับการเติบโตของราคาหุ้น แต่สถานการณ์ปัจจุบันธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินตึงตัว ไม่ว่าจะเป็น การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้ตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศกลับไปสู่ระดับที่สูงกว่าก่อนการลดดอกเบี้ยในช่วงปี 2019 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงเวลาปรับตัวขึ้นนำหน้าดอกเบี้ยนโยบาย ตัวอย่างเช่น พันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 4.3% สูงสุดตั้งแต่ปี 2551ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 4% หรือขึ้นมา 4 เท่าจากเมื่อตอนต้นปี

ด้าน J.P.Morgan ได้มีการประเมินผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯหากเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve) มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1% โดยพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 5 ปี มีโอกาสให้ผลตอบแทนอยู่ในช่วง -0.3% ถึง 8.6% อย่างไรก็ตาม ภาพข้างหน้าที่ยังมีความเสี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ควรจะต้องเพิ่มปัจจัยด้านคุณภาพตราสารหนี้เข้ามาพิจารณาด้วย

ทางธนาคารทิสโก้เห็นโอกาสในการเพิ่มตราสารหนี้ทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้คุณภาพดี อายุปานกลางเข้าไปในพอร์ตการลงทุนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับสูง แม้ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายยังคงเพิ่มขึ้น แต่ตลาดตราสารหนี้โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวมีการปรับตัวขึ้นไปล่วงหน้าที่ ขณะที่ความกังวลของภาวะเศรษฐกิจถดถอยกดดันการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนระยะกลางถึงยาวและมีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต หรือแม้แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนการเพิ่มตราสารหนี้คุณภาพดีก็จะสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงรวมถึงลดความผันผวนในพอร์ตการลงทุนได้

 

 

======================

 

บทความโดย

ยศรวี จงแสงทอง AFPTTM

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้  

เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ Money Talk ของ Business Today

 
บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า