ถึงเวลาซื้อหุ้นญี่ปุ่น ฟื้นตัวดีสุดใน 4Q2021

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1636427142838

เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดการเงินการลงทุนถูกปกคลุมด้วยความกังวลต่างๆ จากนโยบายการเงินและการคลังในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศปรับลดวงเงิน Qualitative Easing (QE) ของ Fed (QE Tapering) โดยประกาศว่า จะเริ่มต้นในเดือน พฤศจิกายน นี้ และคาดว่า จะสิ้นสุดในช่วงกลางปี 2022 อีกทั้งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงิน และกระทบต่อราคาสินทรัพย์การลงทุนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนโยบายการปรับเพิ่มขึ้นภาษีในแต่ประเภทของสหรัฐฯ ที่เริ่มถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในสภามากขึ้น ซึ่งหากมีการบังคับใช้จริงอาจส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทฯ ตลอดจนบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงข้างต้น พบว่า ตลาดหุ้น Developed Market (สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น) เป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อย และสำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมีีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศอีกด้วย อาทิ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวโดดเด่น การปรับเพิ่มประมาณการผลประกอบการบริษัทฯ และระดับ Valuation ที่ยังไม่สูง ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีความน่าสนใจสำหรับการลงทุนในช่วง 4Q2021 นี้

จากการรวบรวมข้อมูลโดย TISCO Economic Strategic Units (TISCO ESU) พบว่า ประเด็นความกังวลเรื่อง QE Tapering และแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2013 กระทบต่อตลาดหุ้นในกลุ่ม Emerging Markets อย่างมีนัยสำคัญ โดยดัชนี MSCI Asia ex Japan, MSCI Latin America และ SET Index ปรับตัวลดลง -4.1% -17.3% และ -20.9% ตามลำดับ แต่ในขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นในฝั่ง Developed Markets กลับ Outperform ในช่วงเดียวกันโดยตลาดหุ้น S&P 500, Euro Stoxx 600 และ NIKKEI 225 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.1% 8.0% และ 0.1% ตามลำดับ ซึ่งหากอิงตามสถิติที่ผ่านมาตลาดหุ้น DM น่าจะยังสามารถ Outperform ตลาด EM ได้เช่นเดียวกัน

นอกจากประเด็นเรื่อง QE Tapering ข้างต้น การฟื้นตัวของของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจแต่ละประเทศ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจของ สหรัฐฯ และ ยุโรป ได้ผ่านช่วงของการฟื้นตัวสูงสุดไปแล้ว ในขณะที่การฟื้นตัวของญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่จุดสูงสุดในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้ โดย Goldman Sachs คาดว่า GDP ของ ญี่ปุ่นจะเติบโตถึง +8.4% qoq, annualized มากกว่า สหรัฐฯ และ ยุโรปที่เติบโต +6.0% และ 5.4% qoq, annualized ตามลำดับ ตามที่แสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1: ตารางแสดงตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของประเทศในกลุ่ม Developed Markets และ ตัวเลขภาพรวมทั่วโลก

1636427297910

ที่มา: Goldman Sachs Global Investment Research

สอดคล้องกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งนักวิเคราะห์ได้มีการปรับประมาณการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยในปี 2021 นี้ จะเป็นปีแรกในรอบราว 4 ปี ที่ผลประกอบการบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่หลังช่วงที่เกิดสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และจีน โดย Goldman Sachs คาดว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น TOPIX ของญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 33% yoy (As of 1USD = 105 Yen) ขณะเดียวกันในด้าน Valuation พบว่า ปัจจุบันตลาดหุ้น TOPIX ซื้อ – ขายอยู่ที่ระดับ Forward P/E 15x เท่า ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปี และระดับ Valuation ยัง Discount จากตลาดหุ้นโลกราว 23% (As of 3 Sep 2021) อีกด้วย

จากบทความข้างต้นจะพบว่า ใน 4Q2021 นี้จะมีประเด็นเข้ามากดดันตลาดการลงทุนในหลากหลายประเด็นด้วยกัน และจะเข้ามากระทบต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ตลอดจน Sentiment การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงประเภทต่างๆ ซึ่งตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็น 1 ในตลาดที่ได้รับผลกระทบดั่งกล่าวน้อย ตลอดจนมีปัจจัยสนับสนุนโดยเฉพาะ ทำให้คาดว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่น จะสามารถ Outperform ตลาดหุ้นโดยรวมได้ในอนาคต

===================================

บทความโดย

วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT™ Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า