Lazy Money : เงินขี้เกียจที่ไม่ควรมองข้าม

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1727081295910

Lazy Money คืออะไร?

“Lazy Money” หรือ “เงินขี้เกียจ” หมายถึง เงินที่ถูกเก็บไว้อย่างนิ่งเฉย โดยไม่สร้างประโยชน์หรือสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า กล่าวคือเงินที่ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยแต่ไม่เกิดดอกผลเท่าที่ควรหรือบางทีอาจเป็นเงินฉุกเฉินที่ได้เตรียมไว้มากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งโดยทั่วไปเราควรจะมีเงินฉุกเฉินสำรองไว้เทียบเท่าค่าใช้จ่ายราว 3-6 เดือน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคล ตัวอย่างของเงินขี้เกียจที่พบบ่อย คือ เงินที่ถูกทิ้งไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำ หรือเงินสดที่เก็บไว้อยู่เฉย ๆ โดยไม่มีการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถเพิ่มมูลค่า ในอนาคตได้ เช่น หุ้น, พันธบัตร หรือสินทรัพย์อื่น ๆ 

เงินขี้เกียจจะส่งผลกระทบต่อเราในอนาคตได้อย่างไร?

แม้การเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์หรือการเก็บเงินสดอาจดูเหมือนเป็นการป้องกันความเสี่ยง แต่ความจริงแล้วการปล่อยให้เงินอยู่เฉยๆ อาจทำให้เราพลาดโอกาสในการสร้างการเติบโตของเงินในระยะยาว และในทางกลับกันก็แปลว่า ความมั่งคั่งของเราอาจลดลงด้วยผลกระทบจากเงินเฟ้อ นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมเงินขี้เกียจถึงเป็นปัญหา

1. ผลกระทบจากเงินเฟ้อ : อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลง เมื่อเก็บเงินไว้โดยไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่มากพอเพื่อชดเชยกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มูลค่าของเงินนั้นก็จะลดลง ซึ่งหมายความว่าเราอาจซื้อสินค้าหรือบริการในอนาคตได้ในปริมาณน้อยลงด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม

2. พลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทน : หากเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำ อาจพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต อย่างเช่น การลงทุนใน หุ้น พันธบัตร หรือ กองทุน ที่แม้จะมีความเสี่ยงแต่สามารถเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของเราทำให้เงินของเราอยู่กับการลงทุนที่ดีและสามารถเติบโตอย่างเหมาะสม

3. ผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงิน :การปล่อยให้เงินนอนอยู่เฉยๆ อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้และอาจเกิดปัญหาในอนาคตขึ้นได้ เมื่อต้องการใช้เงินในช่วงที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น การเกษียณอายุ การซื้อบ้าน หรือ ค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากเงินไม่สามารถเติบโตพอที่จะรองรับการจ่ายในอนาคตที่เกิดขึ้นได้

แล้วเราจะจัดการกับเงินขี้เกียจได้อย่างไร?

เมื่อรู้แล้วว่าเงินขี้เกียจเป็นปัญหา ขั้นตอนถัดไปคือการหาวิธีจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเปลี่ยนเงินขี้เกียจให้เกิดประโยชน์มากขึ้นดังนี้

1. บริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุด : หากต้องการเผ่ือไว้สำหรับสภาพคล่องในระยะสั้น การฝากเงินไว้ในธนาคาร ควรพิจารณาฝากเงินในบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น บัญชีเงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง บัญชีฝากประจำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการออมเงินได้มากขึ้น

2. ศึกษาเรื่องการลงทุน : หากยังไม่เคยลงทุน การเริ่มต้นศึกษาและลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความรู้และระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ โดยมีสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตได้ในอนาคต อย่างการลงทุนใน หุ้น, พันธบัตร, อสังหาริมทรัพย์ หรือ ทองคำ หรือ กองทุนรวม ซึ่งการลงทุนในแต่ละประเภทจะมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกัน 

3. วางแผนทางการเงินระยะยาวให้ตรงกับเป้าหมาย : การวางแผนการเงินระยะยาวที่ครอบคลุมความต้องการและไลฟ์สไตล์ในชีวิต จะช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่าย การออม และการลงทุนได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งผลต่อการสร้างความมั่นคงทางการเงินและช่วยให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เช่น การเกษียณอายุ การซื้อบ้าน การศึกษาของบุตร หรือการมีเงินสำรองเพื่อการฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถจัดการเงินขี้เกียจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปแล้ว Lazy Money หรือ เจ้าเงินจอมขี้เกียจ คือ เงินที่ไม่ได้ทำงานให้เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า อาจทำให้มูลค่าของเงินลดลงเมื่อเวลาผ่านไป การลงทุนและการจัดการเงินอย่างชาญฉลาดจะช่วยเงินที่นอนอยู่นิ่งๆถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเปลี่ยนเงินขี้เกียจให้กลายเป็นเงินที่สามารถสร้างความมั่งคั่งและบรรลุเป้าหมายให้กับเราได้ในระยะยาว

 

บทความโดย โดย จตุรพร ระวิงทอง AFPT™ 

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า