M&A อีกหนึ่งโอกาสทางอนาคตของนวัตกรรม Biotech

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1638862783523 1

ตลาดหุ้นตอบรับในเชิงบวก หลังการประชุม FOMC วันที่ 2 – 3 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่ง Fed ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0-0.25% และปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) ลง เดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามคาด และส่งสัญญาณว่า Fed ยังไม่เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งภายหลังการประชุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield) อายุ 10 ปี ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 1.45% (as of November 6, 2021) โดย TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU) มีมุมมองว่า Bond Yield อาจทรงตัว เนื่องจากรับรู้ทิศทางนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นไปค่อนข้างมากแล้ว ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นต่อจากนี้

สำหรับประเด็นที่คนให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ คงเป็นเรื่องการที่บริษัททั้ง Merck & Co. และ Pfizer ได้พัฒนายารักษา COVID-19 ออกมา ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางด้าน Biotechnology โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา บริษัท Pfizer ได้แถลงถึงความสำเร็จของยา Paxlovid ว่า ผลการทดลองในระยะที่ 3 สามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วย COVID-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตได้ถึง 89% ซึ่งหลังการประกาศข่าวนี้ ทำให้หุ้น Pfizer ปรับตัวขึ้นกว่า 11% ในช่วงก่อนเปิดตลาด    

ขณะที่มองว่า หุ้นในกลุ่ม Healthcare ยังคงเป็นหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจหลังจากนี้ ด้วย Valuation ที่ยังถูกอยู่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Biotechnology ที่มี Forward 12-Month PE of S&P 500 Biotechnology Index (S5BIOTX Index) ตัวแทนของหุ้นกลุ่ม Biotechnology ยังซื้อ-ขายอยู่ในระดับต่ำเพียง 10.54 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ประมาณ 13 เท่า (as of November 4, 2021)

นอกจากนี้ในครึ่งปีแรกของปีนี้พบว่า มีการควบรวมกิจการ (M&A) ของหลายบริษัท ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Horizon Therapeutics ที่ได้เข้าซื้อบริษัท Viela Bio. ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิต้านทางเนื้อเยื่อตนเอง (Autoimmune Disease) ขั้นรุนแรง วงเงินกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยบริษัท Viela Bio. เป็นบริษัทลูกของบริษัท AstraZeneca ก่อตั้งเมื่อปี 2018 และเมื่อปี 2020 บริษัท Viela Bio. ยังได้รับการอนุมัติยาตัวแรกจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) สำหรับยารักษาโรคภูมิต้านทางเนื้อเยื่อตนเองที่รุนแรงและหายากอีกด้วย

ถัดมา บริษัท Amgen ที่เข้าซื้อกิจการของบริษัท Five Prime Therapeutics วงเงิน 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง Five Prime Therapeutics เป็นบริษัทที่กำลังพัฒนาการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารหรือมะเร็งหลอดอาหารขั้นรุนแรงแบบพุ่งเป้า และบริษัท Merck & Co. ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท Pandion Therapeutics ที่พัฒนาเกี่ยวกับการรักษาโรคแพ้ภูมิตนเอง เป็นวงเงิน 1,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น โดยราคาหุ้นกลุ่ม Biotechnology ในช่วงที่ผ่านมา มักจะมีการปรับราคาขึ้นได้ดีเมื่อมีการควบรวมกิจการ และมีการอนุมัติยาจาก FDA เกิดขึ้น

หากดูตามการวิเคราะห์ของ PwC ที่เป็นบริษัทวิจัยทางการตลาดและมุมมองทางเศรษฐกิจ คาดว่า ในช่วงที่เหลือของปีน่าจะเห็นการทำ M&A มากขึ้น เนื่องจากช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา การทำ M&A นั้นมีค่อนข้างน้อยและไม่มีข้อตกลงขนาดใหญ่ แต่ในช่วงที่เหลือของปีน่าจะมีกิจกรรม M&A เพิ่มมากขึ้น และอาจเป็นข้อตกลงขนาดใหญ่ด้วย

อีกทั้งก่อนหน้านี้ยังมียาที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA อีกมากมาย โดยมีรายงานจาก Evaluate Vantage ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้มุมมองเชิงลึกและแนวโน้มในอุตสาหกรรม Biotech เวชภัณฑ์ยาและ Medtech ที่คาดว่า ยาที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ดังกล่าวจะเป็นยาที่มียอดขายในปี 2026 อยู่ในระดับสูง ยกตัวอย่างเช่น ยา Aduhelm (Aducanumab) ซึ่งเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ของบริษัท Biogen นอกจากนี้ Eisai มีการคาดการณ์ยอดขายอยู่ที่ 4,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยา Efgartigimod ของบริษัท Argenx ที่เป็นยาที่ใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อที่พบได้ยาก คาดการณ์ยอดขายอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยา Mavacamten ที่ใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy) ของบริษัท Bristol-Myers Squibb คาดการณ์ยอดขายจะอยู่ที่ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่กล่าวมาของหุ้นในกลุ่ม Biotechnology ไม่ว่าจะด้วย Valuation ที่ยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี การคาดการณ์ถึงการได้รับประโยชน์จากทั้งการควบรวมกิจการ การอนุมัติยาจาก FDA และการคาดการณ์ยอดขายในอีกราว 5 ปีข้างหน้าที่สูง น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้หุ้นกลุ่ม Biotechnology สามารถเติบโตและมีศักยภาพที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

==============================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Money Talk ของ Business Today

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า