ปั้นเงินเกษียณเพิ่มจากประกันสังคมด้วยประกันบำนาญ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

ปั้นเงินเกษียณเพิ่มจากประกันสังคมด้วยประกันบำนาญ 800X420

 

หลังจากปีนี้ที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบหลักการปรับสูตรบำนาญชราภาพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 แบบใหม่ชื่อว่า CARE หรือ Career-Average Revalued Earnings โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป โดย CARE ออกมาเพื่อให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนมากขึ้นรวมถึงการขยายเพดานค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินสมทบ แม้จะส่งผลให้เงินบำนาญของผู้ประกันตนมากขึ้น แต่ยังอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพหลังเกษียณและเรายังจำเป็นต้องวางแผนออมเพิ่มเติมเพื่อให้กระแสเงินสดเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณมากขึ้น 

การปรับสูตรบำนาญ CARE มี 2 ประเด็นหลักที่ถูกปรับปรุง คือ การเปลี่ยนค่าเฉลี่ยฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินบำนาญและการปรับค่าเงินให้สอดคล้องกับมูลค่าปัจจุบัน โดยแบบเดิมจะใช้ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ขณะที่แบบใหม่จะใช้ค่าเฉลี่ยค่าจ้างตลอดอายุการทำงาน ดังนั้น ผู้ที่ออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นมาตรา 39 ช่วงปีท้ายๆ ก่อนอายุ 55 ปีจะได้ประโยชน์มากขึ้นเพราะฐานเงินเดือนจากสูตรคำนวณใหม่จะคำนวณตลอดช่วงเวลาที่เป็นผู้ประกันตนทั้ง 2 มาตรา ขณะที่แบบเดิมการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ฐานเงินเดือนสูงสุดเพียง 4,800 บาท จะทำให้ได้รับเงินบำนาญน้อยกว่ามาตรา 33 อย่างมาก แต่สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่คงสถานะต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี ที่ฐานเงินเดือนเพิ่มขึ้นจนเต็มเพดานที่ 15,000 บาทจะไม่ได้ประโยชน์จากสูตรใหม่มากนัก อย่างไรก็ดี ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ก็ยังมีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้คำนวณเงินสมทบ จากเดิมที่อัตราค่าจ้างต่อเดือน 15,000 บาทคือเพดานสูงสุด จะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดที่ปี 2569-2571 เท่ากับ 17,500 บาท, ปี 2572 – 2574 เป็น 20,000 บาท และปี 2575 เป็นต้นไปที่ 23,000 บาท แม้ว่าผู้ประกันตนที่ได้รับค่าจ้างเทียบเท่าหรือสูงกว่าเพดานค่าจ้างจะต้องจ่ายเงินสบทบมากขึ้นแต่ก็จะได้สิทธิรับบำนาญชราภาพสูงขึ้นเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามูลค่าของเงินกองทุนบำนาญชราภาพที่มีการปรับปรุงแล้ว ก็อาจใช้เป็นเงินทุนเพื่อการเกษียณได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นในปัจจุบันการพึ่งพาเงินบำนาญจากประกันสังคมแหล่งเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการเกษียณ เช่น ถ้าผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้ว 35 ปีและได้รับการปรับเพดานค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบตามมติล่าสุดของคณะกรรมการประสังคมสูงสุดที่ 23,000 บาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 11,500 บาท ซึ่งจะเทียบเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของปี 2568 เท่านั้น อีกทั้งยังได้รับในอัตราคงที่ ขณะที่ ค่าครองชีพช่วงหลังเกษียณยังสามารถปรับสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการเพิ่มกระแสเงินสดหลังเกษียณเพิ่มเติมอาจต้องออมด้วยตนเองจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นต้น 

แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นวางแผนเกษียณซึ่งบางครั้งอาจไม่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนอาจใช้ประกันชีวิตประเภทบำนาญเป็นแกนหลักในการวางแผนเกษียณก่อน เนื่องจากสามารถวางแผนจำนวนเงินบำนาญที่ต้องการได้รับหลังเกษียณได้ง่ายกว่าการลงทุนเนื่องจากประกันชีวิตแบบบำนาญเพราะประกันชีวิตระบุระยะเวลาคุ้มครองและจำนวนเงินคืนในแต่ละปีไว้ในกรมธรรม์ซึ่งแน่นอนกว่าการลงทุนที่ผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ 

โดยปัจจุบันประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยได้หลายรูปแบบตามสถานะการเงินของผู้ที่อยากวางแผนเกษียณในช่วงเวลานั้นๆ และขึ้นอยู่กับการเสนอขายของบริษัทรับประกัน ไปตั้งแต่การชำระเบี้ยประกันแบบ 1 ปี จ่ายครั้งเดียวจบหรือทยอยจ่ายจำนวนงวดเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 60 ปี หลังจากนั้นจะได้รับเงินคืนในแต่ละปีเหมือนเงินบำนาญตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ซึ่งได้รับไปเรื่อยๆ หากยังมีชีวิตสูงสุดประมาณอายุ 80-99 ปีขึ้นอยู่กับแบบประกัน อีกทั้งประกันชีวิตแบบบำนาญยังมีชนิดที่ให้เงินปันผลจึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นต่างจากแบบประกันบำนาญทั่วไปซึ่งจะช่วยเสริมกระแสเงินสดเพื่อการเกษียณโดยที่ไม่ต้องออมเพิ่มเติม และยังมีความคุ้มครองชีวิตคล้ายกับประกันสังคมที่มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต แต่เป็นในรูปของการคืนเงินตามมูลค่ากรมธรรม์ที่ยังคงเหลือให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมรดกด้วย 

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของกองทุนชราภาพประกันสังคมทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มมาตรา 33 ไปมาตรา 39 ในช่วงอายุก่อนวัยเกษียณให้เกิดความยุติธรรมกับผู้ประกันตนกลุ่มนี้มากขึ้น แต่เงินบำนาญจากประกันสังคมเป็นเพียงการออมภาคบังคับซึ่งอาจไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายชีวิตที่จะสูงขึ้น ดังนั้นการทำประกันบำนาญจึงเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ผู้ประกันตนทุกช่วงวัยสามารถใช้ในการวางแผนเกษียณ ซึ่งตอบโจทย์ที่สุดในการสร้างกระแสเงินสดที่แน่นอนเพื่อมาคุ้มครองค่าใช้จ่ายหลังเกษียณแถมยังได้ความคุ้มครองชีวิตและได้สิทธิลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมอีกด้วย 

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ CFP®

Wealth Manager 

บทความล่าสุด

ปั้นเงินเกษียณเพิ่มจากประกันสังคมด้วยประกันบำนาญ

หลังจากปีนี้ที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบหลักการปรับสูตรบำนาญชราภาพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 แบบใหม่ชื่อว่า CARE หรือ Career-Average Revalued Earnings โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป โดย CARE ออกมาเพื่อให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนมากขึ้นรวมถึงการขยายเพดานค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินสมทบ

อ่านต่อ >>

ทำไมควรมี REITs ติดพอร์ตในปี 2025 ?

ไตรมาสแรกของปี 2025 เป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลก และทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในสินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวในวงจำกัดและยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในปีนี้คือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) ซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่เป็นขาลง

อ่านต่อ >>

ล็อคผลตอบแทนยุคดอกเบี้ยขาลงกับประกันสะสมทรัพย์ 

ตั้งแต่กลางปี 2024 เป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยได้มีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งหลังจากที่แนวโน้มเงินเฟ้อปรับตัวลงและเศรษฐกิจเริ่มชะลอความร้อนแรง ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 2.0% ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อ่านต่อ >>

ปั้นเงินเกษียณเพิ่มจากประกันสังคมด้วยประกันบำนาญ

หลังจากปีนี้ที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบหลักการปรับสูตรบำนาญชราภาพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 แบบใหม่ชื่อว่า CARE หรือ Career-Average Revalued Earnings โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป โดย CARE ออกมาเพื่อให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนมากขึ้นรวมถึงการขยายเพดานค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินสมทบ

อ่านต่อ >>

ทำไมควรมี REITs ติดพอร์ตในปี 2025 ?

ไตรมาสแรกของปี 2025 เป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลก และทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในสินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวในวงจำกัดและยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในปีนี้คือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) ซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่เป็นขาลง

อ่านต่อ >>

ล็อคผลตอบแทนยุคดอกเบี้ยขาลงกับประกันสะสมทรัพย์ 

ตั้งแต่กลางปี 2024 เป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยได้มีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งหลังจากที่แนวโน้มเงินเฟ้อปรับตัวลงและเศรษฐกิจเริ่มชะลอความร้อนแรง ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 2.0% ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า