ปิดจุดอ่อน เสริมความแกร่ง ให้แผนเกษียณ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1630406892943

ปัจจุบันแหล่งข้อมูลหรือแนวทางการวางแผนการเงินมีแพร่หลายตามสื่อออนไลน์ต่างๆ มากมาย และหลากหลายเรื่องราว ทั้งเทคนิคการเก็บออม การสร้างความเข้าใจในเรื่องภาระหนี้สินและดอกเบี้ย การเลือกผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี ไปจนกระทั่งวิธีการเริ่มต้นการวางแผนเกษียณ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนและมีลักษณะความเหมาะสมที่เป็นปัจเจกไปในแต่ละบุคคลโดยเฉพาะการวางแผนเกษียณ เพราะเมื่อปัจจัยที่กำหนดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป้าหมายที่ต้องการอาจทำให้แผนเกษียณไม่เหมาะสมและผิดพลาด จนอาจไม่สามารถแก้ไขได้หากเข้าใกล้เวลาเกษียณมากเกินไป หรืออาจจะทำให้การใช้ชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุข เพราะแผนที่วางไว้ไม่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง ซึ่งมีประเด็นหลักต่างๆ ที่เราจะต้องพิจารณาก่อนที่จะลงมือวางแผนเกษียณ เพื่อให้สามารถปรับแผนเกษียณไปในแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองได้ โดยการปิดจุดอ่อนที่เราคาดไม่ถึง เพื่อเสริมให้ชีวิตหลังเกษียณของเรามีความมั่นคงมากขึ้น

จุดหมายสำคัญของการวางแผนเกษียณ คือ จำนวนเงินที่เราต้องการใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจนสิ้นอายุขัย ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลที่เรามักจะค้นหาเจอจะเป็นการให้คำแนะนำโดยสรุป เช่น อยากใช้ 15,000 บาทต่อเดือนจนถึงอายุ 80 ปี ต้องมีเงินเก็บ 4 ล้านบาท ถ้าอยากใช้มากกว่านั้นก็ขยับเพิ่มไปในสัดส่วนเท่ากัน เช่น 30,000 บาท ใช้ 8 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งถือว่ามีหลายจุดที่ต้องเข้าใจที่มาของวงเงินที่คำนวณได้ เพราะแต่ละบุคคลก็มีวิถีการใช้ชีวิต ลักษณะนิสัย ความพร้อมทางด้านการเงิน และความรู้ทางด้านการเงินการลงทุนที่แตกต่างกันไป โดยปัจจัยที่เราจะต้องให้ความสำคัญ มีดังต่อไปนี้

ประการแรก คือ “ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณควรเป็นเท่าไหร่?” แนวทางทั่วไปจะกำหนดจาก 50 – 70% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อนเกษียณ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่จะใช้จ่ายน้อยลงหลังเกษียณ เช่น ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า หรือค่าใช้จ่ายทางสังคม แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่เริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจินตนาการไม่ออกว่าค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณจะเป็นเท่าไหร่ อาจเทียบเคียงจากค่าใช้จ่ายปัจจุบันที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วยอัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มทำงานมาคำนวณต่อเนื่องไปถึงปีที่ต้องการเกษียณก็ได้ แต่อย่าลืมพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี นับตั้งแต่เวลาที่เราเริ่มวางแผนการเงินด้วย เช่น หากเราเริ่มวางแผนเกษียณเมื่ออายุ 40 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่คาดหวัง ณ วันเกษียณประมาณ 30,000 บาท ในมูลค่าปัจจุบัน เมื่ออายุ 60 ปี เราต้องวางแผนเกษียณโดยตั้งเป้าหมายว่า ต้องเก็บเงินเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในเดือนแรก
หลังเกษียณเท่ากับ 54,200 บาทต่อเดือน ในอีก 20 ปีข้างหน้า ด้วยข้อสมมติว่าอัตราเงินเฟ้อต่อปีเท่ากับ 3% เพื่อให้อำนาจซื้อไม่ลดลงจากอัตราเงินเฟ้อ

ประการต่อมาที่มักผิดพลาดกับการวางแผนค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ คือ “อายุขัย” ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดวงเงินที่ต้องเตรียมไว้หลังเกษียณ หากประเมินอายุขัยสูงมากเกินไป เช่น 100 ปี ข้อดีก็คือ ถ้าทำได้ตามแผนก็มีโอกาสใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณอย่างพอเพียง แต่ข้อเสียคือ จะใช้วงเงินจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้แผนการลงทุนต้องรับความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้มีเงินทุนเพียงพอตามแผนที่วางไว้ แต่หากประเมินต่ำเกินไป เงินทุนอาจถูกใช้จ่ายจนหมดไปก่อนสิ้นอายุขัยได้ ซึ่งเราสามารถกำหนดอายุขัยด้วยค่าเฉลี่ยของคนไทยที่ประมาณ 80 ปีก่อนได้ จากนั้นก็ปรับด้วยประวัติครอบครัวตนเอง เพื่อให้ได้อายุขัยที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนเกษียณ

1630304182156

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณมักมีรูปแบบที่แตกต่างจากช่วงก่อนเกษียณ ควรพิจารณาให้ดีก่อนวางแผนเกษียณ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยวิธีการวางแผนเพื่อให้สามารถประเมินค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล อาจใช้ประกันสุขภาพ เข้ามาควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และมีโอกาสเพิ่มสูงกว่าเงินเฟ้อในอนาคต โดยแนะนำให้เริ่มซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ หรืออาจเริ่มตั้งแต่การวางแผนเกษียณก็ได้ เนื่องจากช่วงอายุ 30 – 40 ปี ยังเป็นช่วงที่ยังไม่เป็นโรคประจำตัว จึงไม่มีเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติมจากที่บริษัทประกันเสนอขาย ทำให้คุ้มค่ากว่าไปตัดสินใจทำประกันสุขภาพตอนใกล้เกษียณ เพราะยิ่งสูงอายุขึ้น อาจเกิดโรคภัยบางอย่างที่บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการรับประกัน หรือต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อรับความคุ้มครองได้ และควรพิจารณาประกันสุขภาพที่สามารถให้ความคุ้มครองช่วงหลังอายุ 60 – 80 ปีขึ้นไปได้ เนื่องจากจุดประสงค์ของการซื้อประกันสุขภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเกษียณคือเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ไม่แน่นอนในอนาคต จนกระทบแผนเกษียณที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดของผู้เริ่มต้นวางแผนเกษียณหรือวางแผนการเงิน คือ มักที่จะละเลยประโยชน์ของการทำประกันสุขภาพ โดยเอาผลตอบแทนในรูปตัวเงินของการทำประกันสุขภาพไปเทียบกับการลงทุนเท่านั้น แต่หากพิจารณาในบริบทของความเสี่ยง การทำประกันภัยต่างๆ จะช่วยการโอนความเสี่ยงที่ไม่แน่นอน เช่น ค่ารักษายามเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ยิ่งเกิดเหตุในช่วงที่เราต้องประกอบอาชีพและขาดรายได้ก็จะทำให้การดำเนินแผนเกษียณยากขึ้นไปอีกระดับ ในขณะที่การลงทุนจะสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้เพียงแต่ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) เช่น ความเสี่ยงเฉพาะตัวบริษัท หรือความเสี่ยงของแต่ละชนิดสินทรัพย์เท่านั้น แต่คงเหลือความเสี่ยงเชิงระบบ (Systematic Risk) ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นตัวแปรสำคัญคอยลดทอนอำนาจซื้อ หากเราไม่สามารถลงทุนให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลานั้นๆ อีกด้วย

สำหรับการวางแผนเกษียณนั้น มีปัจจัยต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้มากมายเพื่อให้ได้เงินทุนที่ต้องการไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ ดังนั้น นอกเหนือจากว่าเราจะต้องการรู้ว่าเงินทุนที่ต้องเตรียมไว้ก่อนเกษียณควรเป็นเท่าไหร่ตามค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต้องการแล้ว ถ้าเรายังเข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่นำมาคำนวณหาเงินทุนที่ต้องการเพิ่มเติมด้วย ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถวางแผนเกษียณได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อให้แผนเกษียณเหมาะสมกับตนเอง และสามารถดำเนินการตามแผนเกษียณที่วางไว้อย่างราบรื่น พร้อมใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข  

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Holistic Financial Advisory ใน TRUST Magazine

บทความล่าสุด

ยุคทองของหุ้นสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้น 

นายโดนัลด์ ทรัมป์ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกล่าวว่า “ยุคทอง” ของสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้นขึ้น โดยออกคำสั่งประธานาธิบดี (Executive orders) หลายฉบับ และคำแถลงต่างๆ ที่เป็นแนวทางในการบริหารประเทศในช่วง 100 วันแรก

อ่านต่อ >>

เปิด 3 กลยุทธ์ ที่ต้องมีเมื่อเริ่มยุคทองของทรัมป์ในปี 2025

ผ่านพ้นปี 2024 เป็นปีที่สินทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกต่อเนื่องอีกปี ตลาดหุ้นโลกให้ผลตอบแทน 18% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 20% ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แม้แต่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นได้ 18% หลังจากเงียบเหงามากว่า 2 ปี

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ยุคทองของหุ้นสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้น 

นายโดนัลด์ ทรัมป์ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกล่าวว่า “ยุคทอง” ของสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้นขึ้น โดยออกคำสั่งประธานาธิบดี (Executive orders) หลายฉบับ และคำแถลงต่างๆ ที่เป็นแนวทางในการบริหารประเทศในช่วง 100 วันแรก

อ่านต่อ >>

เปิด 3 กลยุทธ์ ที่ต้องมีเมื่อเริ่มยุคทองของทรัมป์ในปี 2025

ผ่านพ้นปี 2024 เป็นปีที่สินทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกต่อเนื่องอีกปี ตลาดหุ้นโลกให้ผลตอบแทน 18% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 20% ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แม้แต่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นได้ 18% หลังจากเงียบเหงามากว่า 2 ปี

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า