ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1712646786239

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส เพราะเป็นปีที่ธนาคารกลางหลักเกือบทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (Asia ex Japan: AxJ) มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ Outperform ในปีนี้
โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ของทางฝั่งเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (AxJ) เช่น อินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย มีแนวโน้มฟื้นตัวเพิ่มขึ้น (ดังภาพที่ 1) เมื่อเปรียบเทียบกับทางฝั่ง Developed Markets (DM) อย่างสหรัฐฯ ยุโรป เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่ยังหดตัว ซึ่งจากสถิติย้อนหลังในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว กลุ่ม AxJ มักจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่ากลุ่ม DM

 

ภาพที่ 1 แสดงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ธ.ค. 2023 – ก.พ.2024 ของประเทศในกลุ่มเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (AxJ) และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM)

download

ที่มา: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory

 

นอกจากนี้ จากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ช่วงปี 1989 ยังพบว่า ตลาดหุ้น AxJ มักจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า (Outperform) ตลาดหุ้นโลก (MSCI ACWI) ทั้งในช่วง 1, 3, 6 และ 12 เดือน หลัง Fed ลดดอกเบี้ย โดยเฉพาะในช่วงหลัง 12 เดือน ตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นโดยเฉลี่ยมากถึง 19% และยัง Outperform ตลาดหุ้นโลกมากเกินกว่า 2 เท่าอีกด้วย (ดังภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 แสดงถึงตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมักจะ Outperform ตลาดหุ้นโลก ทั้งในช่วง 1, 3, 6 และ 12 เดือน หลัง Fed ลดดอกเบี้ย

download

 
ที่มา: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory

รวมถึง Bloomberg ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ปี 2024 ของกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (Asia ex Japan) จะโตโดดเด่นอยู่ที่ 4.7% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก สหรัฐฯ และยุโรป ที่เติบโตเพียง 2.7%, 1.6% และ 0.9% ตามลำดับ และมีคาดการณ์การเติบโตกำไร (EPS Growth) ของตลาดหุ้น AxJ ที่สูงราว 18% นำตลาดหุ้นโลก (MSCI ACWI) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500 Index) และตลาดหุ้นยุโรป (Stoxx600 Index) ที่เติบโตเพียง 6%, 10% และ 1% ตามลำดับ (as of March 5, 2024)

โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้น AxJ เติบโตได้อย่างโดดเด่น นอกจากการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องแล้ว กลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญบนเวทีอุตสาหกรรมโลก เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขายหลัก โดยมีสัดส่วนการผลิต Semiconductor ถึงราว 60-70% ของการผลิต Semiconductor ทั่วโลก ซึ่งเป็นต้นน้ำในสายการผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆ โดย Deloitte ได้ประมาณการยอดขาย Semiconductor ทั่วโลกในปี 2024 ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2023 ถึง 13% อยู่ที่ระดับราว 588,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนให้ตลาดหุ้น AxJ มีแนวโน้มเติบโตสูง จากการมีอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นที่ต้องการชองตลาดโลก

หากพิจารณาในแง่ของ Valuation พบว่า ยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี โดยมี Forward PE of MSCI Asia ex Japan (as of March 15, 2024) อยู่ที่ราว 12.6 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่อยู่ในระดับราว 13.4 เท่า นอกจากนี้ ราคาหุ้น AxJ ยังซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต มีส่วนลด (Discount) อยู่ราว 12% เมื่อเทียบกับราคาของหุ้นโลก ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงวิกฤต Covid-19 ขณะที่เทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่มีการซื้อขายในระดับราคาที่สูงกว่า (Premium) ค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับ MSCI ACWI ถึง 5% และ 15% ตามลำดับ ทำให้โอกาสปรับตัวขึ้น (Upside) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีค่อนข้างจำกัด เพราะฉะนั้น การปรับพอร์ตจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น มายังตลาดหุ้น AxJ จึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนของพอร์ตได้เพิ่มขึ้น

กล่าวโดยสรุปคือ เรามองเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้น AxJ มากมายในปีนี้ จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม AxJ ที่เพิ่มขึ้นระดับ Valuation ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว การเติบโตของ Earnings growth ในระดับ Double digits และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักทั่วโลก ที่อยู่ในจุดสูงสุด และมีแนวโน้มกลับทิศเป็นขาลงในปีนี้ จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดหุ้น AxJ มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ดีในระยะข้างหน้า

อีกทั้ง การเลือกลงทุนในกลุ่มประเทศ ยังสามารถช่วยกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุนได้ โดยเลือกกองทุน Active fund ที่สามารถคัดเลือกหุ้นได้ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน มีความยืดหยุ่น ซึ่งเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวด้วย

บทความโดย วิภาดา ศุภกุลวณิชย์ AFPT™

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า