หุ้นเวียดนาม Oversold โอกาสหรือความเสี่ยง ?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1670554483723 1

นับจากช่วงต้นไตรมาส 2/2022 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเวียดนามซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นดาวเด่นแห่งอาเซียนได้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องราว 35% จากจุดสูงสุด สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนและเกิดคำถามว่า การปรับฐานของตลาดหุ้นเวียดนามในครั้งนี้เป็นความเสี่ยงหรือเป็นโอกาส ?

ปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นเวียดนามให้ปรับฐานลงแรงในช่วงที่ผ่านมา สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ ประเด็นแรก เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 4% เป็น 6% เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินดองไม่ให้อ่อนค่าจนเกินไป แม้ว่าเวียดนามจะไม่ได้เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงเหมือนกับประเทศอื่น ๆ และยังสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 4% ก็ตาม

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งในเวียดนามมีการขยับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นมาอยู่ใกล้เคียง 10% ด้วยสภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นเวียดนามเองในปีนี้ที่กำลังเผชิญความผันผวนที่สูง ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่มีสัดส่วนราว 90% ของนักลงทุนในเวียดนาม ลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงและมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากตลาดหุ้นไปอยู่ในเงินฝาก ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเผชิญแรงเทขายและเกิดการ Force Sell จากบัญชี Margin ของนักลงทุนตามมา

ประเด็นที่สอง คือ ความกังวลของนักลงทุนต่อบริษัทในภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากในช่วงไตรมาส 2/2022 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามมีการจับกุมผู้บริหารของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีการออกหุ้นกู้และนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่า บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางแห่งที่มีหนี้สินในระดับสูง จะเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องและไม่สามารถที่จะ Refinance หุ้นกู้เพื่อระดมเงินทุนได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เรามองว่าประเด็นความกังวลเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นเวียดนามเป็น “ปัจจัยชั่วคราว” ที่สามารถบริหารจัดการและแก้ไขได้ โดยคาดว่าความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มผ่อนคลายลงจากการที่ Fed เริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 1/2023 และทำให้เวียดนามเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม เช่นเดียวกันกับ ความกังวลในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นปัญหาเฉพาะรายบริษัทและมีโอกาสน้อยที่จะลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่อย่างที่นักลงทุนในตลาดกังวล เนื่องจากภาพรวมบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DE Ratio) ที่อยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 0.5 เท่า

ด้วยแรงเทขายแบบ Panic Sell ของนักลงทุนในเวียดนาม โดยไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ส่งผลให้ ณ ระดับราคาปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงมาซื้อขายอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี สะท้อนจากค่า Forward PE ที่อยู่ในระดับเพียงแค่ 8 เท่า ในขณะที่ทิศทางการเติบโตของผลกำไรบริษัทจดทะเบียนในเวียดนาม (EPS Growth) ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดย Bloomberg Consensus คาดว่าจะเติบโตได้ในระดับที่สูงถึง +18.3% YoY ในปี 2022 และ +17.8% YoY ในปี 2023

นอกจากนี้ หากพิจารณาย้อนหลังไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ตลาดหุ้นเวียดนามมีการปรับฐานลงแรงกว่า 20% จนระดับ Forward PE ลงมาซื้อขายอยู่แถวบริเวณ 10 เท่า มักจะเป็นจุดที่ตลาดหุ้นเวียดนามสามารถกลับตัวเป็นขาขึ้นได้และสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยในระดับที่สูงกว่า 35% ในช่วง 1 ปีต่อมา ดังนั้น Valuation หุ้นเวียดนาม ณ ระดับราคาปัจจุบันที่มี Forward PE เพียง 8 เท่า จึงถือเป็นระดับราคาที่ “Oversold” และมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) ที่สูงถึงกว่า 20%

ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนามยังคงมีความแข็งแกร่งเช่นเดิม ทั้งในแง่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ IMF ยังคงคาดการณ์ว่า GDP ของเวียดนามจะเติบโตได้สูงถึง 6.2% ในปี 2023 และ 6.6% ในปี 2024 สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยได้รับแรงหนุนทั้งจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสถานะทางการเงินของประเทศที่ยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากระดับหนี้สินต่างประเทศต่อ GDP ที่อยู่ในระดับต่ำและทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง

กลยุทธ์การลงทุนในเวียดนามควรมีกรอบระยะเวลาการลงทุนในระดับ 3 – 5 ปีขึ้นไป เพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับสูง สอดรับไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามและก้าวข้ามความผันผวนของตลาดในระยะสั้น ดังนั้น เรามองว่าวิกฤตตลาดหุ้นเวียดนามในครั้งนี้ จึงไม่เป็นเพียงแต่เป็นโอกาสของนักลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสของมนุษย์เงินเดือนทุกคนที่กำลังมองหากองทุน SSF และ RMF ที่จะใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีควบคู่ไปกับการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงในระยะยาวไปกับตลาดหุ้นเวียดนาม      

 

======================

 

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ Financial Planning ของ กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>

แจกทริกตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ปังไม่พังตั้งแต่ต้นปี

เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ หลายคนมักตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเงิน เช่น การออมเงิน ลดหนี้ หรือเพิ่มรายได้ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายเหล่านี้มักไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากว่า 80% ของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่มักล้มเหลวภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้ง การตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนที่ดี และการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้ารู้จักหลัก S.M.A.R.T. รวมถึงเพิ่ม 3 ทริกที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จของเป้าหมาย

อ่านต่อ >>

ญี่ปุ่น ฟื้นจากเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ สร้างภูมิต้านทานสงครามการค้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2025 พร้อมกับการพลิกจากภาวะเงินฝืดสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ผลกระทบจากประเด็นการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ เป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสจะเป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีและมีความแข็งแกร่งในปี 2025 นี้

อ่านต่อ >>

ธ.ทิสโก้ เปิด 3 กลุ่มสินทรัพย์ โอกาสสร้างกำไรทะยาน ! ปี 68

Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ คาดนโยบาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนุน 3 กลุ่มสินทรัพย์ราคาทะยาน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ คือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย บริการการสื่อสาร และกลุ่มสถาบันการเงิน 2. กลุ่มประเทศที่ราคาหุ้นขึ้นช่วงสงครามการค้า คือ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น และ 3. กลุ่มสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงิน – การคลัง คือ ตราสารหนี้ รีท และทองคำ พร้อมชี้ราคาหุ้นจีน น้ำมัน และพลังงานจ่อดิ่ง แนะหลีกเลี่ยงลงทุน

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า