ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้บุกเบิก School of Global Health กับพันธกิจสร้างความมั่นคงทางสุขภาพโลก
นิตยสาร Trust ฉบับที่ 58 | คอลัมน์ People
จากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรโลก และสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ สะท้อนความจำเป็นที่สังคมโลกต้องสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพโลกอย่างยั่งยืนในระยะยาว และเตรียมความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขของทุกประเทศ เพื่อรับมือกับโรคภัยที่จะมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการจัดตั้ง สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก (School of Global Health) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอย่างยิ่ง
TRUST ฉบับนี้ จึงขอโอกาสพาไปพูดคุยกับ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้บุกเบิก School of Global Health เพื่อบอกเล่าถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสูงสุด ตลอดจนแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความมั่นคงทางสุขภาพของคนไทยและความมั่นคงทางสุขภาพโลก
เจตนารมณ์แรกเริ่มของ School of Global Health
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า การจัดตั้ง Schoolof Global Health มีเป้าหมายเพื่อต้องการสร้าง “แพลตฟอร์ม (Platform)” ในการบริหารหลักสูตรนานาชาติ เพื่อยกระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งผลิตบัณฑิตและกำลังคนทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลสุขภาวะ ให้พร้อมรับมือกับบริบทของโรคใหม่และโลกใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างระบบและเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ทางการแพทย์ การบริหารจัดการด้านสาธารณสุข และการทำวิจัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักวิจัย ในสถาบันหรือองค์กรระหว่างประเทศจากทั่วทุกภูมิภาค เพื่อร่วมกันสร้างความมั่นคงทางสุขภาพโลก
“คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมมากว่า 70 ปี พร้อมทั้งสั่งสมความเข้มแข็งทางวิชาการและประสบการณ์จากการทำงานจริง ประกอบกับเรามีนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความสามารถโดดเด่นในหลากหลายสาขา แต่จะทำอย่างไรให้ผลงานของเราเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นอีกในเวทีระดับโลก เมื่อเข้ามาเป็นคณบดี ผมจึงตั้งใจจะยกระดับหลักสูตรและผลงานวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ฯ ให้มีความเป็นนานาชาติ (Globalization) และความเป็นสากล (Internationalization) มากขึ้น นี่จึงเป็นที่มาเริ่มแรกของ School of Global Health”
ท่านคณบดี อธิบายว่า วัตถุประสงค์แรกเริ่มของ School of Global Health คือ การเป็น “แพลตฟอร์มกลาง” ในการต่อยอดศาสตร์ที่เป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ฯ เพื่อสร้างความเป็นนานาชาติ ตลอดจนการเชื่อมต่อประสานทั้งด้านการศึกษา การทำวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงงานบริการทางการแพทย์ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อความมั่นคงทางสุขภาพของพลเมืองโลก
“หนึ่งในความใฝ่ฝันของผม ในฐานะ “ครูแพทย์” คือ ผมอยากเห็นประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านการแพทย์ (Medical Education Hub) ของภูมิภาคเอเชีย ที่ใครก็ตามที่อยากเรียนแพทย์ ต้องมาที่นี่ บวกกับความเชื่อว่า องค์ความรู้ที่จะเท่าทันโลกปัจจุบันและอนาคตได้ จะต้องมีความเป็นนานาชาติมากขึ้น ฉะนั้น การทำหลักสูตรให้มีความเป็นนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็น”
School of Global Health กับอุดมการณ์เพื่อสังคมโลก
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ เล่าว่า ความตั้งใจในการก่อตั้ง School of Global Health เกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่หลังจากโรคอุบัติใหม่นี้เริ่มรุนแรงและขยายวงกว้างไปทั่วทุกมุมโลก ก็ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบบสาธารณสุขและสภาพเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ทำให้วิกฤตของโรค COVID-19 กลายเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อสังคมโลก โดยเฉพาะสถานการณ์ทุกวันนี้ ที่การเข้าถึงองค์ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงยาและวัคซีนในหลายประเทศยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมซึ่งปรากฏการณ์นี้ยิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่สังคมการแพทย์ในประชาคมโลกต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้ ข้อมูลและงานวิจัย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านความมั่นคงทางสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
“สุขภาพโลก ไม่ใช่ปัญหาที่ภาคส่วนใดส่วนหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเพียงภาคส่วนเดียว หากแต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนและหน่วยงานจากทุกภาคส่วน ต้องระดมความคิด งานวิจัย เพื่อออกนโยบายและพัฒนาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาอย่างเท่าทันกับบริบทของโรคและโลก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่ง COVID-19 ทำให้เรียนรู้ว่า นักวิชาการ นักวิจัย และมหาวิทยาลัย เป็นอีกภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญ ขณะที่การแก้ไขปัญหาสุขภาพโลก ทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือและเสริมกำลังกัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงในเชิงองค์ความรู้และการทำวิจัย เพื่อที่แต่ละประเทศจะนำไปต่อยอดสู่ความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และต่อยอดสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศในการทำงานการทำวิจัย และการผลิตกำลังคนในแต่ละประเทศ”
สอดคล้องกับแนวคิดของ School of Global Health ในเรื่องการผลิตแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และทักษะที่ตอบโจทย์ในเรื่องความมั่นคงทางสุขภาพโลกด้วยระบบการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ School of Global Health โดยเปิดรับผู้เรียนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกเข้าถึงศาสตร์และความรู้ทางการแพทย์ เพื่อนำองค์ความรู้กลับไปพัฒนาประเทศของตน และผลิตงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศตนเองได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ความเหลื่อมล้ำในเชิงวิชาการทางการแพทย์ในสังคมโลกลดลง
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ เล่าว่า ความตั้งใจในการก่อตั้ง School of Global Health เกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่หลังจากโรคอุบัติใหม่นี้เริ่มรุนแรงและขยายวงกว้างไปทั่วทุกมุมโลก ก็ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบบสาธารณสุขและสภาพเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ทำให้วิกฤตของโรค COVID-19 กลายเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อสังคมโลก โดยเฉพาะสถานการณ์ทุกวันนี้ ที่การเข้าถึงองค์ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงยาและวัคซีนในหลายประเทศยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมซึ่งปรากฏการณ์นี้ยิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่สังคมการแพทย์ในประชาคมโลกต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้ ข้อมูลและงานวิจัย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านความมั่นคงทางสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
ระดมเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญศาสตร์การแพทย์ระดับโลก
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองพันธกิจด้านการผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการทำงานวิจัยกับสถาบันในระดับโลก School of Global Health จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันชั้นนำระดับโลกมาเป็น “กรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ (International Advisory Board)” ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกกว่า 10 ท่านที่ตอบรับเข้ามาแล้ว อาทิ Dr. Dennis Carroll จาก Texas A&M University ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้มี
ชื่อเสียงระดับโลกด้านโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน Leadership Board โครงการ Global Virome Project
นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ประกันภัยประเภทต่างๆ สำนักงาน คปภ.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมทางด้านประกันภัย และผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สะท้อนความเสี่ยงเฉพาะราย (Product Innovation and Tailor-made Sandbox) เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ ที่แตกต่างกันในเรื่องความคุ้มครอง การเสนอขาย การให้บริการ และการกำหนดปัจจัยในการคำนวณเบี้ยประกันภัยให้สอดรับกับความต้องการและความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัย
“ในอีก 3 ปีข้างหน้า พฤติกรรมและความต้องการของประชาชน ในเรื่องกรมธรรม์ประกันสุขภาพและประกันภัยโรคร้ายแรงที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และเป้าหมายชีวิตมากขึ้น จะกลายเป็นความท้าทายอันดับต้นๆ ของภาคธุรกิจประกันภัย เหตุนี้ สำนักงาน คปภ. จึงผลักดันให้มีกฎหมายเฉพาะที่ส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการและรองรับลักษณะการใช้ชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ควบคู่กับการมุ่งหมายให้ประชาชนในระบบประกันสุขภาพภาคเอกชน (Private Health Insurance) เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากประกันสุขภาพมากขึ้นในราคาที่เหมาะสม
“จุดเด่นของ School of Global Health คือ การเชื่อมโยงของ Advisory Board ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก และมีอาจารย์และนักวิจัยแถวหน้าของประเทศไทยอยู่หลายท่าน ซึ่งหากเป็นไปได้ ผมตั้งใจอยากจะจัดหลักสูตรนี้ให้นิสิตทุกคนมีโอกาสได้มีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน เป็นอาจารย์ไทย 1 ท่านและอาจารย์ต่างชาติ 1 ท่านโดยเป็นการจับคู่ระหว่างนิสิตกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีงานวิจัยหรือความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ที่นิสิตสนใจจะต่อยอด และเมื่อถึงเวลาสร้างเสริมประสบการณ์ในต่างประเทศ ก็จะผลักดันให้นิสิตได้มีโอกาสไปฝึกฝนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกต่อในพื้นที่ที่เหมือนกับเนื้องานที่นิสิตต้องเจอหลังจบการศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างความพร้อมในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพของพลเมืองโลก”
หลากหลายศาสตร์ในหลักสูตร School of Global Health
หลักสูตรของ School of Global Health แบ่งตามศาสตร์ทางการแพทย์และการสาธารณสุข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคเขตร้อน (Emerging Infectious Diseases and Tropical Medicine) 2.กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable Diseases) และ 3.กลุ่มนโยบายสาธารณสุข (Health Policy Systems) มีทั้งหลักสูตรปริญญาโท-เอก และหลักสูตรประกาศนียบัตร โดยเพิ่งเปิดรับ “รุ่นแรก” เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
“เราทำการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ภาพรวมของการเรียนเป็นระดับโลกมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นข้อกังวลด้านสุขภาพที่สังคมโลกเผชิญร่วมกัน (Global Concerns) และการเปิดรับผู้จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ จากทั่วโลก ที่สนใจการทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพโลก ที่ต้องการต่อยอดความรู้และทักษะ (Upskill – Reskill) พร้อมสร้างเครือข่ายในการทำวิจัยหรือการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง กับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ จากสถาบันพันธมิตรในทุกภูมิภาคของโลก”
สำหรับแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ อธิบายว่า หลักสูตร School of Global Health เน้นการเรียนเฉพาะบุคคล (Personalized Learning) ตามเป้าหมายอาชีพและความสนใจของผู้เรียน โดยหลักสูตรฯจะเป็น “ตัวกลาง” จัดหาและประสานความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสายงานที่ผู้เรียนสนใจมาให้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และเครือข่ายการทำงานในด้านนั้น โดยเปรียบว่า “ผู้เรียนจะเหมือนมี “Springboard” ในการกระโดดสู่เวทีระดับสากล หรือมี “Shortcut” ในการพัฒนานวัตกรรมและแนวทางแก้ปัญหาที่เป็น Global Concerns”
ท่านคณบดี ยกตัวอย่าง นิสิตคนหนึ่งที่มีความสนใจเรื่องโรคกลายพันธุ์อย่าง COVID-19 ซึ่งตรงกับความเชี่ยวชาญของ ดร.สุภาพร วัชรพฤษาดี ซึ่งท่านก็ได้รับเป็นที่ปรึกษาให้ ทำให้นิสิตคนนี้ได้มีประสบการณ์ทำงานเป็นส่วนหนึ่งในทีมวิจัยของท่าน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของนิสิตคนนี้ที่จะได้กอบโกยความรู้ทั้งจากศาสตร์ที่เรียน และจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น อีกทั้งยังได้ความรู้และประสบการณ์จากการมีส่วนร่วมกับทีมวิจัยระดับประเทศและระดับโลก
“หากนิสิตคนนี้มาจากประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ไม่มากนัก พอเรียนจบ เขาก็สามารถที่จะนำศาสตร์ความรู้และประสบการณ์ รวมถึงเครือข่ายนักวิจัยที่ได้รับมาระหว่างเรียน กลับไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาในประเทศของตนได้ ในอนาคตหากเกิดโรคระบาดอีก ก็จะมีแนวทางป้องกันและรักษา รวมทั้งมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสานการวิจัย ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในเชิงองค์ความรู้ทางการแพทย์ให้เบาบางลง”
เป้าหมายสูงสุดของผู้บุกเบิก School of Global Health
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ เล่าถึงแรงบันดาลใจของการสร้าง School of Global Health ว่า ตั้งแต่สมัยที่ท่านศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ท่านได้เห็นความเป็นนานาชาติของสถาบันสุขภาพเด็กในอังกฤษ ซึ่งดึงดูดกุมารแพทย์จากทั่วทุกมุมโลกให้ไปศึกษาต่อที่นั่น ทำให้ท่านเกิดความใฝ่ฝันอยากเห็นประเทศไทยมีสถาบันวิชาการทางการแพทย์ที่มีความเป็นนานาชาติเช่นนั้นบ้าง
“ผมอยากเห็นประเทศไทยได้รับการยอมรับในแง่ของการเป็น Global Health & Medical Education Hub ที่เวลาที่คนในภูมิภาคเอเชีย หรือแม้แต่คนจากทั่วโลก คิดถึงการต่อยอดความรู้ทางการแพทย์และสุขภาพโลก ก็จะนึกถึงประเทศไทย นึกถึงความเชี่ยวชาญของนักวิจัยไทย นั่นคือหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดในการจัดตั้ง School of Global Health ของผม”
ขณะที่เป้าหมายสูงสุดอีกประการของการจัดตั้ง School of Global Health ได้แก่ การเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์สังคมโลก ในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้านการแพทย์และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทโลกที่มีความซับซ้อนและความไม่แน่นอนสูงขึ้น รวมถึงภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่มากขึ้น ขณะที่สังคมโลกที่ก้าวสู่สังคมสูงวัยในหลายประเทศ ทำให้ผู้ป่วยด้วย “โรคผู้สูงอายุ” จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นโจทย์ทางด้านสาธารณสุขที่สังคมโลกต้องร่วมกันรับมือ
“ผมอยากเห็นผู้ที่จบจากหลักสูตรนี้ สามารถนำองค์ความรู้กลับไปพัฒนาประเทศหรือภูมิภาคของตน ด้วยความเป็นผู้นำในศาสตร์นั้น และเชื่อมโยงกับบุคลากรในศาสตร์เดียวกันในประเทศอื่นได้ พร้อมกับตระหนักถึงการทำงานที่ตอบสนองปัญหาสาธารณสุขที่พลเมืองโลกต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ประชากรทุกมุมโลกเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม” ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายอย่างมีความหวัง