“ภาษีมรดก” เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 68 | คอลัมน์ Holistic Financial Advisory

1 compress 80

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มการเก็บภาษีมรดกในระดับสูง เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลง พร้อมทั้งหารายได้เข้ารัฐมากขึ้น แม้แต่ประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มจะแก้ไขกฎหมายภาษีมรดกให้เก็บในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งภาครัฐมองว่า กฎหมายภาษีมรดกของไทยล่าสุด คือ พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 มีการเก็บภาษีอยู่ที่ 5-10% นั้นค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

    จากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่า หลายประเทศส่วนใหญ่จัดเก็บภาษีมรดกอยู่ระหว่างอัตรา 10-30% เช่น ประเทศญี่ปุ่นจัดเก็บอยู่ที่ 10-55% เกาหลีใต้จัดเก็บที่ 10-50% หรือสหรัฐฯ ที่จัดเก็บ 18-40% เป็นต้น

2 compress 88

    จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีมรดกของประเทศไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ทำให้มีโอกาสอย่างมากที่ในอนาคต ภาษีมรดกของไทยจะถูกเก็บเพิ่มสูงขึ้น

    ปัจจุบันกฎหมายภาษีมรดกของไทยมีการจัดเก็บดังต่อไปนี้ คือ ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินสุทธิเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท หากเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน จะเสียภาษีในอัตรา 5% หากเป็นบุคคลอื่นจะเสียภาษีในอัตรา 10%

    ภาษีอีกอย่างที่มาคู่กับภาษีมรดกคือ ภาษีการรับให้ (Gift Tax) คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกเก็บจากการรับให้โดยเสน่หา “ก่อนผู้ให้เสียชีวิต” โดยจะเรียกเก็บภาษี 2 ประเภท ดังนี้

    • สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น เงินสด รถยนต์ ทองคำ ถ้าเป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% หากเป็นบุคคลอื่น เสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท ในอัตรา 5% ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ “ผู้ที่ได้รับเงินได้”
    • อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท เช่น บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดินอสังหา โดยเป็นบิดาและหรือมารดาผู้โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรชอบตามกฎหมาย โดยเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ในทางกฎหมายถือว่าเป็น “ผู้ขาย” อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
      ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ “ผู้ที่โอนกรรมสิทธิ” เป็นคนนำไปคำนวณภาษี

    การวางแผนส่งต่อมรดกจึงมีภาษีที่เกี่ยวข้อง  2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกันคือ ภาษีมรดกและภาษีการรับให้ ครอบคลุมตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ไปจนถึงหลังจากไปแล้ว ในตอนมีชีวิตอยู่ เราสามารถใช้ประโยชน์จากภาษีการให้ โดยทยอยให้ทรัพย์สินกับทายาทบางอย่างในแต่ละปีไม่เกิน 20 ล้านบาท จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีจากการให้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ผู้รับอาจจะนำไปใช้โดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้ 

บริหารภาษีมรดกด้วยประกันชีวิต

    หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เราสามารถใช้การส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระภาษีมรดกที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และจัดการมรดกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์ของประกันชีวิต ดังนี้

    • เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษีมรดก เนื่องจากไม่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย แต่เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว
    • สามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความประสงค์ของเจ้ามรดกโดยผู้รับประโยชน์สามารถเป็นบุคคลใดก็ได้ เช่น ทายาท คู่สมรส บุพการี พี่น้อง หรือองค์กรการกุศล เป็นต้น
    • เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกได้ เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต สิทธิในการรับเงินประกันชีวิตจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ของผู้เอาประกันจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตจากผู้รับประโยชน์ได้
    • จัดการเงินได้อย่างรวดเร็ว การเรียกร้องเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแจ้งให้บริษัทประกันชีวิตทราบภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน ซึ่งต่างกับคำสั่งศาลในคดีมรดก โดยพินัยกรรมจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน และคดีมรดกโดยธรรมจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน
    • ค่าเบี้ยนำไปลดหย่อนภาษีได้ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง

    ยกตัวอย่างเช่น คุณ A อายุ 45 ปี มีสินทรัพย์ 250 ล้านบาท ส่งต่อให้บุตรซึ่งเป็นทายาทเพียงคนเดียว เป็นอสังหาริมทรัพย์และที่ดินกว่า 150 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องต่าง ๆ  ถ้าหากไม่ได้วางแผนภาษีเอาไว้ จะเสียภาษีส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท คือ 5% ของ 150 ล้านบาท โดยจะเสียภาษีถึง 7.5 ล้านบาท

    แต่ถ้าคุณ A ได้วางแผนเกษียณเอาไว้โดยใช้ประโยชน์จากประกันชีวิต โดยเลือกซื้อประกันชีวิตแบบตลอดชีพเป็นแบบประกันที่ให้ทุนเอาประกันภัยสูง เบี้ยประกันภัยต่ำ โดยอายุที่คุณ A ทำประกันชีวิต จะใช้เงินค่าเบี้ยเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับทุนที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการส่งต่อมรดกที่ 100 ล้านบาท จ่ายเบี้ยประกันเพียง 50 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเงินส่วนเพิ่มเพื่อส่งต่อได้อีก 50 ล้านบาท และสามารถนำเงินที่ได้ในส่วนนี้ไปชำระภาษีส่วนเกินที่ได้รับมา อย่างอสังหาริมทรัพย์มูลค่าสูงโดยไม่เป็นภาระต้องหาเงินสดมาชำระภาษีตรงนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระทางภาษีและเพิ่มมูลค่าของกองมรดกนี้ได้อีกด้วย

    ทั้งนี้ โอกาสที่ภาษีมรดกในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราภาษีมรดกของไทยในปัจจุบันที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และภาครัฐเริ่มเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีการรับมรดก ทำให้มีโอกาสปรับขึ้นอัตราภาษีที่สูงขึ้น ไม่รวมถึงถ้าเกิดมีการปรับลดวงเงินการเสียภาษีจาก 100 ล้านบาท ลงไปต่ำกว่านั้น ก็ทำให้เรามีโอกาสเสียภาษีมรดกมากยิ่งขึ้น

    การวางแผนส่งต่อมรดกไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยใช้ประโยชน์จากภาษีการรับให้ในตอนยังมีชีวิตอยู่ และใช้ส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิตหลังจากไปแล้ว จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดกให้กับทายาทและคนที่คุณห่วงใย เงินที่ได้จากการทำประกันจะถูกส่งต่อและสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังได้รับการยกเว้นภาษีมรดก และสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า