เกษียณให้พร้อมแบบเพียงพอและมั่นคง

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 62 | คอลัมน์ Health Protection Advisory

1667962281026

คนอายุน้อยมักรู้สึกว่าเรื่องเกษียณยังเป็นเรื่องที่ไกลตัว จึงไม่ได้คิดที่จะเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งกว่าจะเริ่มคิดเรื่องเกษียณก็เมื่ออายุเข้าสู่เลขหลักสี่ไปถึงเลขหลักห้าแล้ว อีกทั้งหลายคนก็อาจวางใจว่าตัวเองอยู่ในระบบการออมเพื่อการเกษียณแล้ว เช่น ประกันสังคม (กรณีชราภาพ) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาคเอกชน แต่อาจไม่ทราบว่าเงินที่จะได้รับจากการออมเหล่านี้ จะเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณอย่างมีคุณภาพหรือไม่

โดยปกติแล้ว การใช้ชีวิตวัยเกษียณในระดับที่ใกล้เคียงกับวันที่เราเกษียณอายุจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 50 – 70% ของรายได้ ณ วันที่เราเกษียณอายุ สมมติว่าเรามีรายได้เดือนละ 100,000 บาทในวันที่เราเกษียณอายุ ค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับในช่วงปีแรก ๆ ที่เราเกษียณจะใช้เงินประมาณ 50,000 – 70,000 บาทต่อเดือน ยังไม่นับถึงการต้องนำเงินไปใช้จ่ายด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว หรือเงินซื้อรถยนต์คันใหม่ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้เรามีเงินมากพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ เราจึงต้องวางแผนการออมและการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระบบการออมภาคบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหลายคนอาจใช้การออมผ่านกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษีประเภทต่าง ๆ  เช่น SSF หรือ RMF ตามจำนวนเงินที่สามารถหักลดหย่อนได้ โดยน้อยคนที่จะรู้ว่าท้ายที่สุด ณ วันเกษียณอายุ เราจะมีเงินเพียงพอสำหรับช่วงหลังเกษียณอายุหรือไม่ 

การวางแผนเกษียณที่เหมาะสมจึงไม่ใช่เพียงการวางแผนการออม การลงทุน และภาษีเท่านั้น แต่รวมถึงการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอีกด้วยว่า เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องคำนึงถึงผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อและควรวางแผนป้องกันความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่จะกระทบกับเงินที่เราเตรียมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอีกด้วย  

ป้องกันความเสี่ยงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ลดภาระของแผนการเงิน

ในเรื่องของความเสี่ยงนั้น มีความเสี่ยงที่เราสามารถป้องกันได้ล่วงหน้าคือ ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสำหรับโรคของผู้สูงอายุและโรคร้ายแรง ซึ่งเราสามารถป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ได้ด้วยการทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง โดยการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพจะเข้ามาช่วยลดภาระเป้าหมายของแผนการออมและการลงทุนสำหรับการเกษียณของเรา ด้วยการโอนภาระด้านค่ารักษาพยาบาลไปยังบริษัทประกันฯ  

รู้ให้แน่...ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในช่วงเกษียณ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตตามไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องแปลงเป็นจำนวนตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการวางแผนเกษียณของเรา โดยเริ่มจากการประมาณการรายได้ของเรา ณ วันเกษียณ แล้วนำมาคำนวณสัดส่วน 50 – 70% ก็จะได้เงินค่าใช้จ่ายที่คาดว่าเราจะต้องใช้ในแต่ละปีหลังการเกษียณอายุ

1667962563610

หากปัจจุบันเรามีอายุ 35 ปี และมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน  โดยเงินเดือนเพิ่มเฉลี่ยปีละ 3%  ประมาณการรายได้ ณ วันเกษียณของเราจะเท่ากับ 104,690 บาท (ลองคำนวณได้จากแผนภาพที่ 1) ซึ่งค่าใช้จ่ายในสัดส่วน 50% ของรายได้ที่เราต้องการใช้จ่ายในปีแรก คือเดือนละ 52,345 บาท หรือ 628,140 บาทต่อปี ถ้าเราอยู่จนถึงอายุ 85 ปี จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่เราจะใช้ตลอดช่วงหลังเกษียณ ก็คือ 15,703,500 บาท ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงหลังเกษียณมักมีวัตถุประสงค์เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ จึงอาจพูดได้ว่าจำนวนเงิน 16 ล้านบาท คือตัวเลขเป้าหมายในการวางแผนเพื่อการเกษียณของเรานั่นเอง

แยกแผนการเงินสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน

ในการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุนั้น ยังมีคำแนะนำให้เราแยกค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่มีผลต่อการดำรงชีวิตออกมาต่างหาก เพื่อกำหนดกลยุทธ์การออมและการลงทุนที่เน้นการป้องกันการสูญเสียเงินไป เพื่อป้องกันผลกระทบของผลตอบแทนจากการลงทุนที่อาจไม่เป็นไปตามแผนการออมและการลงทุนที่วางไว้ การทำเช่นนี้เพื่อให้ค่าใช้จ่ายพื้นฐานมีความมั่นคงและมีความแน่นอน เพื่อให้เรามีเงินใช้จ่ายได้ตลอดอายุขัยนั่นเอง  

1667962705815

ประกันบำนาญเป็นผลิตภัณฑ์การเงินประเภทหนึ่งที่เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการวางแผนค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่มีการกำหนดจำนวนเงินหรือรับประกันเงินบำนาญ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ในขณะดำรงชีวิต (Living Benefit) ที่เราจะได้รับจนถึงอายุที่กำหนดในกรมธรรม์ เช่น 85 ปี 90 ปี หรือ 99 ปี เป็นต้น  ยกตัวอย่างแบบประกันบำนาญ  TISCO My Wish Retirement แบบประกันบำนาญที่ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี รับเงินบำนาญ 24% ต่อปีของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่อายุ 60 ปี เป็นต้นไป ดังนั้น แม้อัตราผลตอบแทนของการลงทุนอื่นจะไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เราก็ยังมั่นใจได้ว่า เราจะมีเงินสำหรับใช้จ่ายอย่างน้อยปีละ 24% ของเงินเอาประกันภัยไปจนถึงอายุ 99 ปี  ทำให้ชีวิตหลังเกษียณของเรามีความมั่นคงสูงและไม่ต้องกังวลกับสภาพเศรษฐกิจมากนัก 

การวางแผนเพื่อรองรับการเกษียณอายุให้เพียงพอและมั่นคงได้ จึงควรเริ่มจากการหาเป้าหมายการเงินเพื่อการออม การลงทุน พร้อมป้องกันความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดจากความเจ็บป่วยและโรคร้ายแรง ด้วยการทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง เพื่อไม่ให้กระทบกับความมั่งคั่งที่เราสร้างขึ้น

นอกจากนี้ เราควรป้องกันความเสี่ยงสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานด้วยการแยกค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำคัญออกมา และเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ความมั่นคงกับเงินค่าใช้จ่ายส่วนนี้อย่างประกันบำนาญ เพียงเท่านี้ เราก็จะมีแผนการเงินเพื่อการเกษียณที่พร้อมอย่างเพียงพอและมั่นคง และมุ่งให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

—–

หมายเหตุ: ตัวอย่างการคำนวณทั้งหมดเป็นเพียงการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น

• ประกันบำนาญ “TISCO My Wish Retirement” รับประกันโดยบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)

• ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

• ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ทิสโก้ อินชัวรันส์ โซลูชั่น จำกัด เป็นเพียงนายหน้าประกันภัย เท่านั้น

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า