1534327562764

มองหุ้นไทย Q2 ไม่ใช่ขาลง แต่จะผันผวนมากขึ้นจากปัจจัยภายนอก เน้นเลือกลงทุนเป็นรายตัว

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 40 | คอลัมน์ Investment Strategy

2 ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามใกล้ชิดจากการเปิดเผยรายละเอียดแผนลดภาษีครั้งใหญ่ของนาย Donald Trump

การเปิดเผยรายละเอียดแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของนาย Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแผนการลดภาษี การใช้จ่ายภาครัฐด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเงินคาดจะช่วยกระตุ้นให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของเรา คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) จะเติบโต 2.6% และ 3.6% ในปี 2017-18F ตามลำ ดับ เร่งตัวขึ้นจากที่เติบโต 1.6% ในปี 2016F และจะนับเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดในรอบมากกว่า 1 ทศวรรษ

รูปที่ 1 : คาด GDP สหรัฐฯ โตแบบเร่งตัวขึ้นในปี 2017-18F…หนุนดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว

investment strategy 2 40

นอกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีแนวโน้มแข็งค่าจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นแล้ว ในส่วนของรายละเอียดแผนการลดภาษีครั้งใหญ่มีส่วนที่ต้องติดตามอยู่ 2 ประเด็น คือ 1) แนวคิดการลดภาษีโอนเงินทุน (กำไร) บริษัทสัญชาติอเมริกันในต่างแดนกลับสหรัฐฯ (Repatriation Tax) เพื่อกระตุ้นให้บริษัทที่มีเงินสะสมนอกประเทศในประมาณการที่สูง เช่น Apple, Chevron, GE, Google, IBM, Johnson & Johnson, Microsoft,Pfizer และ Western Digital นำเงินทุนกลับมาใช้ในการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการประเมินกันว่าจะทำให้มีเงินทุนไหลกลับประเทศสหรัฐฯ ประมาณ 1-3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 2) แนวคิดการจัดเก็บภาษีแบบ Border Adjustment Tax ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บภาษีเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้า และลดภาษีให้สินค้าส่งออก โดยคาดว่าจะช่วยทำให้ดุลการค้าของสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น มีเงินไหลกลับมาในประเทศมากขึ้น โดยทั้ง 2 แนวคิดนี้ อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งแข็งค่าเร็วขึ้น และจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นใน Emerging Markets ได้

Fed ส่งสัญญาณแข็งกร้าว ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อในอนาคต

ตลอดช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed ส่งสัญญาณแข็งกร้าวตรงกันต่อการ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ส่งผลให้ DB ปรับคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ จากเดิม 2 ครั้งในการประชุมเดือน มิ.ย. และ ธ.ค. เป็น 3 ครั้งในการประชุมเดือน มี.ค. มิ.ย. และ ก.ย. ซึ่งถือว่าเร็วและมากกว่าที่เราและตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้น จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น และกดดันกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลออกต่อเนื่อง ทั้งนี้ใน Q1 (YTD จนถึงวันที่ 10 มี.ค.) ต่างชาติมียอดขายสุทธิรวม 7.9 พันล้านบาท เป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันจาก Q4 ที่มียอดขายสุทธิรวม 5.45 หมื่นล้านบาท

“แนวคิดการจัดเก็บภาษีแบบ Border Adjustment Tax ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บภาษีเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้า และลดภาษีให้สินค้าส่งออก โดยคาดว่าจะช่วยทำให้ดุลการค้าของสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น มีเงินไหลกลับมาในประเทศมากขึ้น”

รูปที่ 2 : หุ้นไทยถูกต่างชาติขาย 2 ไตรมาสติด...แรงกดดันดอกเบี้ยและดอลลาร์สหรัฐฯ ขาขึ้น

investment strategy 3 40

หมายเหตุ : * QTD (as of 10-Mar-17) Source : SET, TISCO Research

การเมืองในยุโรปคาดจะเริ่มมีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส

การแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษหรือ “Brexit” ตามมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาลิสบอน คาดว่าจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2017 เป็นต้นไป และจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี หรือในต้นปี 2019 จึงจะสามารถออกจากสหภาพยุโรปได้จริงๆ โดยในช่วงระหว่าง 2 ปีนี้ อังกฤษจะยังไม่สามารถทำข้อตกลงทวิภาคีใดๆ ได้ จนกว่าจะออกจากสหภาพยุโรปไปแล้ว ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่กดดันทั้งสองฝ่าย ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป ทั้งการเริ่มต้นกระบวนการ Brexit อย่างเป็นทางการและผลการเลือกตั้งของเนเธอร์แลนด์ในกลางเดือน มี.ค. อาจสร้างความกังวลต่อเนื่องไปจนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส และการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนีที่จะมีขึ้นในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. และเดือน ก.ย. ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่โดยคิดเป็นสัดส่วนราว 21% และ 28% ของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวม ตามลำดับอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและกดดันเงินยูโรให้อ่อนค่าลงได้ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

รูปที่ 3 : ปัจจัยติดตามทางการเมืองในยุโรปที่สำคัญในปีนี้

investment strategy 4 40

Source : TISCO Research

“การเริ่มต้นกระบวนการ Brexit อย่างเป็นทางการอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและกดดันเงินยูโรให้อ่อนค่าลงได้ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น”

investment strategy 5 40

มองความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศไตรมาสนี้เป็นจังหวะเก็บหุ้นกำไรฟื้นตัวสูงแต่ฐานราคายังต่ำ

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศในไตรมาสนี้ที่คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงขึ้น ดังนั้น การเลือกหุ้นที่น่าลงทุนจึงมี ความสำคัญยิ่ง เราชอบหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวสูงในปีนี้ แต่ฐานราคายังอยู่ในระดับต่ำ หุ้นเด่นที่เราแนะนำในไตรมาสนี้ คือ CENTEL (ธุรกิจโรงแรมคาดฟ้นื ตวั จากฐานต่ำ การปรับอัตราค่าห้องขึ้น และโอกาส M&Aในอนาคต กำไรปี 17F คาดที่ 2.05 พันล้านบาท เติบโต 18%, มูลค่าเหมาะสม 45 บาท) CPN (มองกำไรปีนี้เติบโตดีต่อเนื่อง +15% จากปีที่แล้ว +17% ผ่านการเปิดศูนย์การค้าใหม่ 3 แห่ง ประกาศโครงการร่วมทุนบมจ.ดุสิตธานี (DTC) พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อเนกประสงค์บริเวณหัวมุมถนนสีลม มูลค่าเหมาะสม 62 บาท) JWD (คาดพลิกกลับมามีกำไรปีนี้ 290 ล้านบาท จากธุรกิจห้องเย็นกลับมาเป็นปกติ หลังหาสินค้าอื่น อาทิ กุ้ง ไก่ เป็ด ผัก และผลไม้ มาแทนปลาทูน่าที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงผิดกฎหมาย และธุรกิจคลังสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าเหมาะสม 10 บาท) ROJNA (การลดสัดส่วนถือหุ้น TICON ลงจาก 43% เป็น 26% จะช่วยลดภาระหนี้และดอกเบี้ยจ่ายไปจำนวนมหาศาล ประกอบกับรายได้ขายไฟฟ้าจาก SPP3จะเริ่มเข้ามาตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป หนุนกำไรปีนี้ฟื้นตัวอย่างมากและคาดจะเริ่มกลับมาจ่ายปันผลสูงที่ 6-7% ต่อปี ราคาหุ้นต่ำกว่า BVที่ประมาณ 5.8 บาท ซึ่งยังไม่รวมมูลค่าแฝงจากการถือหุ้น TICON อีกราว 3.6 บาท/หุ้น มูลค่าเหมาะสม 7.2 บาท) TPIPL* (คาดผลประกอบการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีหลังนำบริษัทลูกในธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ (TPIPP) เข้าจดทะเบียนในตลาด มูลค่าเหมาะสม 3.9 บาท)

* บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ เป็นผู้จัดการการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายสำหรับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกของ TPIPP ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TPIPL

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า