1533804484705

ลงทุนอย่างไรในปี 2018

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 43 | คอลัมน์ Wealth Manager Talk

ปี 2017 ที่ผ่านมา นับเป็นอีกปีที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อันเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2016 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการอัดฉีดสภาพคล่องจา กธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ดัชนีหุ้นหลักอย่างเช่น S&P500 ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 8 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาการอยู่ในตลาดขาขึ้นหรือที่เรียกว่าตลาดกระทิงที่ยาวนานกว่ าระยะเวลาโดยเฉลี่ยเช่นเดียวกับผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 277% ในขณะที่มี Forward P/E ถึง 18 เท่า ซึ่งเป็นระดับ P/E ที่เกือบจะสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์เป็นรองแค่เพียงช่วงฟองสบู่ดอทคอมในช่วงปี 2000 เท่านั้น

 

แผนภาพที่ 1: เปรียบเทียบระยะเวลาและผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลาของดัชนี S&P500

1533106311846

Source: Bloomberg and Wells Fargo Investment Institute
 

ในปี 2018 คาดว่าเราจะยังได้เห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง และตลาดหุ้นที่ยังปรับตัวขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถขยายตัวได้ในระดับ 3.7% เพิ่มขึ้นจาก 3.6% ในปี 2017 ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นที่ 2.4% ในปี 2018 นี้ จาก 2.1% ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของประ ธานาธิบดี Donald Trump เช่น การปฏิรูปภาษี อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 นี้ ตลาดหุ้นอาจต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันและทำให้ตลาดมีความผันผวนมากขึ้นกว่า ปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากสภาพคล่องที่ลดลง เนื่องจากธนาคารกลางต่างๆ เริ่มทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่อง เช่น

    1) การเริ่มลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2017 ในอัตราไม่เกิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนและปรับลดเพิ่มขึ้นไตรมาสละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนจนถึง อัตราสูงสุดที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน

    2) การประกาศลด QE ของธนาคารกลางยุโรปลงจาก 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เป็น 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค. ปีนี้

    3) การทยอยลด QE ของธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเหลือ 50 ล้านล้านเยนต่อปี ในปี 2018 นี้

การดำเนินการของ 3 ธนาคารกลางนี้คาดว่าจะทำให้สภาพคล่องส่วนที่เคยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2013 ประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อไตรมาส ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งในไตรมาสแรกของปีนี้ และจะลดลงจนหมดในช่วงสิ้นปีนี้ และหลังจากนั้นสภาพคล่องของโลกจะเริ่มลดลงในปี 2019

ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางต่างๆ ยังเริ่มใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้น และทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วในปี 2017 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอีก 3-4 ครั้งในปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปอาจเริ่มประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเช่นกั นในช่วงครึ่งปีหลัง และนโยบายการเงินของจีนที่คาดว่าจะกลับมาเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง เพื่อควบคุมระดับหนี้และลดความเสี่ยงซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

นอกจากนั้น สถานการณ์ทางการเมืองเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะกดดันตลาดหุ้นในปี 2018 ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาการเมืองในแถบตะวันออกกลาง ความเสี่ยงทางการเมืองในยุโรปที่อาจกลับมาอีกครั้งจากการเลือกตั้งทั่วไปในอิตา ลีในช่วงต้นปีนี้และการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ปี 2018 นี้ ที่อาจทำให้พรรค Republican สูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล


แผนภาพที่ 2: ปฏิทินเหตุการณ์สำคัญในปี 2018

1533106005365 scaled

Source: Credit-Suisse
 

ปัจจุบันมี Forward P/E ที่ประมาณ 14.6 เท่า ซึ่งนับว่ายังไม่สูงมากเมื่อเทียบ กับในอดีต และยังต่ำกว่า S&P500 โดย กลุ่มสถาบันการเงินจะเป็นกลุ่มที่ได้ ประโยชน์มากที่สุดหากมีการปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
 

ดังนั้น ภายใต้สภาพคล่องที่ลดลง การดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลาง และสถานการณ์ทางการเมืองที่พร้อมจะเป็นชนวนกดดันตลาดหุ้นที่มี Valuation สูง และอยู่ในช่วงตลาดขาขึ้นที่ยาวนานกว่าปกติให้เกิดแรงเทขายได้ในบางช่วง การลงทุนในปี 2018 นี้เราจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน และเลือกลงทุนในหุ้นที่ยังไม่แพงเกินไป และมีแนวโน้มเติบโตได้ดี เช่น หุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และกลุ่ม Healthcare ของสหรัฐฯ

หุ้นกลุ่มสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ปัจจุบันมี Forward P/E ที่ประมาณ 14.6 เท่า ซึ่งนับว่ายังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับในอดีต และยังต่ำกว่า S&P500 โดยกลุ่มสถาบันการเงินจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุดหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับดอ กเบี้ยเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารมีความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้น นอกจากนั้น กฎหมายปฏิรูปภาษีที่คาดว่าจะลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 35% เป็น 20% จะเป็นผลบวกอย่างมากต่อกำไรของกลุ่มสถาบันการเงิน เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มนี้เสียภาษีเฉลี่ยในอัตรา 28% ขึ้นไป ยังไม่นับรวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบของสถาบันการเงิน เช่น การผ่อนคลายกฎ Volcker Rule และการผ่อนเกณฑ์การทำ Stress Test ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กลุ่มสถาบันการเงินสามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวขึ้นและจะ ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไร

ส่วนกลุ่ม Healthcare ปัจจุบันมี Forward P/E 16.5 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประมาณ 20% โดยกลุ่ม Healthcare ได้ประโยชน์จากแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะช่วยทำให้กำไรของกลุ่มนี้ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม Healthcare มีกำไรเติบโตเฉลี่ย 9% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าดัชนี S&P500 ที่มีอัตราการขยายตัวของกำไรเฉลี่ย 6% ต่อปี นอกจากนั้น กลุ่ม Healthcare ยังเป็น กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ในแง่ของการเก็บภาษีในอัตราต่ำชั่วคราวสำหรับบริษัทที่นำกำไรที่เกิดขึ้นนอกประเทศกลับเข้ามาในประเทศ (Repatriation Tax) เนื่องจากกลุ่ม Healthcare มีกำไรจากต่างประเทศในอัตราสูงเป็นอันดับต้นๆ รองจากกลุ่ม IT


แผนภาพที่ 3: ค่า Forward P/E ของดัชนี S&P500 และของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในดัชนี S&P500

1533105892220

Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
 

นอกจากหุ้นรายกลุ่มของสหรัฐฯ ที่น่าสนใจแล้ว ดัชนีหุ้นรายประเทศอย่างหุ้นญี่ปุ่นยังเป็นอีกหนึ่งดัชนีที่น่าสนใจและคาดว่า จะยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ เนื่องจากญี่ปุ่นยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะยังคงใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายอยู่ เนื่องจากเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% นอกจากนั้น นาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น และรองผู้ว่าอีก 2 คน จะหมดวาระลงในช่วงเดือน มี.ค. และ เม.ย. นี้ตามลำดับ จึงคาดว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้

ในส่วนของนโยบายการคลัง เราคาดว่าจะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากนาย Shinzo Abe โดยคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านเยน คิดเป็น 0.4% ของ GDP ญี่ปุ่น

นอกจากนั้น แนวโน้มการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยนยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นเนื่องจากบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นมีรายได้จากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง

ดังนั้น ในปี 2018 นี้ แม้ตลาดหุ้นจะยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น แต่อาจจะไม่ราบรื่นนัก เราอาจได้การแกว่งตัวที่มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี นักลงทุนจึงควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าไม่แพงเกินไปและยังคงได้ประโยชน์จากนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้นกลุ่มการเงินและ Healthcare ของสหรัฐฯ และดัชนีหุ้นญี่ปุ่น นอกจากนี้อาจเลือกทำกำไรในบางช่วงหากได้รับผลตอบแทนที่พอใจแล้ว

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า